วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2552
~Noël ~
Noël est actuellement fixé au 25 décembre dans les calendriers grégorien et julien par la plupart des Églises."
วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2552
~ประโยชน์ของการนั่งสมาธิ~
2. หายหวาดกลัว หายกระวนใจโดยไม่จำเป็น
3. นอนหลับง่าย ไม่ฝันร้าย สั่งตัวเองได้(เช่น สั่งให้ตื่นเวลาใดเป็นต้น)
4. กระฉับกระเฉง ว่องไว รู้จักเลือกและตัดสินใจเหมาะกับสถานการณ์
5. มีความแน่วแน่ในจุดหมาย มีความใฝ่สัมฤทธิ์สูง
6. มีสติสัมปชัญญะดี รู้เท่าทันการณ์ และยับยั้งใจได้ดีเยี่ยม
7. มีประสิทะภาพในการทำงาน ทำกิจกรรมสำเร็จด้วยดี
8. ส่งเสริมสมรรถภาพสมอง เรียนหนังสือเก่ง ความจำดีเยี่ยม
9. เกื้อกูลต่อสุขภาพร่างกาย
10. รักษาโรคบางอย่าง เช่น โรคเครียด โรคท้องผูก โรคความดันโลหิต
ลองมาฝึกสมาะกันดูนะคะ ^^
วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
~10 เคล็ดลับอ่านหนังสือ แม่น !~
2. นั่งสมาธิซัก 5 นาที
3. อ่านหนึ่งรอบ แล้วสรุป โดยไม่เปิดหนังสือ
4. เช็คคำตอบ
5. อ่านอีกหนึ่งรอบ
6. สรุปใหม่ เปิดหนังสือได้เอาไว้อ่าน
7. ถ้าทำเป็น mind mapping จะอ่านง่ายขึ้น
8. มีเอกสารอะไรที่ครูแจก อย่าคิดว่าไม่สำคัญ
9. ท่องไว้ในส่วนที่ครูพูดย้ำ บ่อย ๆ อย่างน้อย 2 ครั้ง/คาบ
10. ก่อนการสอบ ห้ามหักโหมอ่านหนังสือถึงเที่ยงคืน เพราะสมองจะไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้น
วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
~ภารกิจเด็กเตรียมเอ็น.~
วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2552
นั้นก็คือ อ.สาธิตต่างๆนั้นเองจ้า แหม คนใกล้ตัวจริง ๆ
โดยอ.อุทุมพร จามรมาน บอกว่า ที่ผ่านมาข้อสอบ โอเน็ต ได้เชิญ
อ.ในเขต สพฐ มาออก พบว่าข้อสอบเน้นความจำมากเกินไป
ดังนั้นตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไปจะเป็นคนออกข้อสอบจ้า
(PS. ปีกูซวยทุกที ตั้งแต่อีแกตอีแพต โฮกก ก ToT)
วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2552
~เตรียมสอบโควต้าก่อน30วัน~
2.สำรวจรายวิชาที่จะสอบ
3.สำรวจตัวเอง
4.สำรวจหนังสือ หาคนติว จดวิชาที่ต้องอ่าน
5.จัดตารางการอ่านหนังสือ
6.จัดห้องให้พร้อม อยากทำอะไรก็ทำก่อนที่จะอ่าน
7.ฟิต ๆ บอกพ่อแม่ว่าเราจะทำให้ได้
วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2552
แนะน้องๆ เทคนิคทำข้อสอบ อัตนัย ที่สทศ. เตรียมทำร้ายเด็กต่อไป
ถ้าเปิดตัวด้วยการโจมตี สทศ. มันจะดูทุเรศไป
เอาเป็นว่า ตอนนี้ ยืนยันชัดเจนนะครับ
แพ็ท๑ คณิตศาสตร์ และ แพ็ท๓ วิศวะ
มีอัตนัยแน่นอน
ตรวจสอบได้จากตัวอย่างกระดาษคำตอบที่ สทศ. ประกาศออกมา
ตัวอย่างกระดาษคำตอบ คลิก!!!
น่าจะเป็นว่า แพ็ท๑ ปรนัย ๒๕ ข้อ อัตนัย ๑๐ ข้อ
ส่วนแพ็ท๓ น่าจะปรนัย ๖๐ และอัตนัย ๘ ข้อ
ตานี้มาดูการเตรียมตัวดีกว่า
เปิดตัวมาก่อนเลยว่า เตรียมตัวก็ทำให้เหมือนเดิมแหละ
อย่าเพิ่งเดือดมาก ใจเย็นๆ(ตัวผมเองก็เดือดแทนน้องๆเหมือนกัน)
พอมาดูวิธีเดาข้อสอบ
ข้อสอบอัตนัย ทำข้อที่ได้ไป แล้วจำไว้ว่า คำตอบที่มีโอกาสถูกมากที่สุด ไม่ 0 ก็1
เพราะงั้น ถ้าข้อที่ทำได้ มีตอบ 0 (ฝนรหัสคำตอบเป็น 0000.00 สำหรับแพ็ท๑ ส่วนแพ็ท๓ เข้าใจว่าต้องเป็น 0000000.00)
ข้อที่ทำไม่ได้ ให้ตอบ 1 ไปให้หมดทุกข้อเลย (ฝนรหัสคำตอบเป็น 0001.00 สำหรับแพ็ท๑ ส่วนแพ็ท๓ เข้าใจว่าต้องเป็น 0000001.00)
และในทางกลับกัน ถ้ามีข้อไหนตอบ 1 ข้อที่ทำไม่ได้ก็ตอบ 0 ไปให้หมดเลย
แต่ถ้าข้อที่ทำได้ ไม่มีตอบ 0 หรือ 1 เลย ก็ให้เลือกเอาละกัน ว่าชอบเลขไหนมากกว่ากัน
ให้เดาเลขนั้นให้หมด ย้ำ!!!!!! ให้เดาเลขนั้นให้หมด อย่าทำแบบ ข้อนี้1 ข้อนี้0 ได้1 ข้อยังดีกว่าไม่ได้สักข้อนะครับ
ถ้าใครทำข้อสอบเก่าๆมาบ้าง น่าจะพอดูออกบ้างนะครับ
ส่วนข้อสอบ ปรนัย ให้ทำข้อที่ได้ไป ข้อที่ทำไม่ได้ก็เว้นไปก่อน
แล้วนับชอยส์เลยครับ ชอยส์ไหนตอบน้อยสุด
ข้อที่ทำไม่ได้ ดิ่งชอยส์นั้นไปเลย ย้ำ ดิ่งไปเลย
เพราะการดิ่ง โอกาสถูก ๒๕%
และยืนยันครับ ข้อสอบระดับประเทศ เกลี่ยชอยส์ให้เท่าๆกันแน่นอน
ถ้ามันไม่เกลี่ยชอยส์ ก็คงจะ..... เฮ้อ
เซ็งกับการศึกษาไทย
วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2552
1.ความถนัดทางการเรียนวิเคราะห์เกียวกับการอ่าน,ปัญหาเชาว์, วัด IQ,รูปภาพ มิติสัมพันธ์ เช่นมีรูปมาให้แล้ว มาเลือกรูปไหนตรงกับตัวอย่างครับ ,โจทย์คิดวิเคราะห์ เช่น มีตึก 5 ชั้น มีคน 5 คนคือ A B C D E โดย D E ไม่อยู่ชั้นติดกัน C อยู่ชั้นบนสุด คำถามที่1 ใครอยู่ชั้นที่ 4 คำถามที่2 E อยู่ชั้นไหน ( โจทย์ประมาณนี้นะครับเพราะพี่ๆจำโจทย์กันไม่ได้ ฮาฮา) มีการถอยลูกเต๋าด้วยนะ
2.ฟิสิกข์ เคมี ชีวะ ภาษาไทย สังคมจะเน้นเนื้อหาของม. 4-5 เป็นหลักนะครับเพราะม6 ยังแทบไม่ได้เรียนเท่าไหร่เลย แต่ก็มีเนื้อหาของ ม6 ออกบ้างเหมือนกันแต่ถ้าใครอ่านหนังสือไม่ทันจริงๆก็แนะนำเนื้อหา ม4-5 เป็นหลักครับ สำหรับชีวะก็พี่พี่เขาแนะนำหนังสือของ สสวท มีออกหลายข้อ สำหรับฟิสิกส์สูตรที่ใช้จะไม่ยากมากนะครับ เน้นประยุกต์ด้วย ( แต่ปีนี้ไม่รุ้นะ ฮาฮา ) และก็อ่านข้อสอบ Eng ย้อนหลังด้วย
3. คณิคศาสตร์จะออกเป็นคิดวิเคราะห์,ประยุกต์, เซต และอื่นๆ พี่ๆแนะนำว่าก็ควรจะเน้นเรื่องตอน ม4-5 เช่นเดิมและเน้น สถิติ ความน่าจะเป็นด้วย
4.อังกฤษError,Reading เยอะมากๆ ยากด้วย , Conversation , Vocab ก็แนะนำอ่านข้อสอบEntเก่าเช่นเดิม เนื่อเรื่องบางอันยกมาจากข้อสอบเก่าเต็มๆ แต่ถึงยังไงก็ต้องฝึกพื้นฐานเองด้วยนะครับ ไม่งั้นก็ไม่รอดอยู่ดี
5.พื้นฐานคอมพิวเตอร์ความรู้ทั่วไปของคอม ตรรกศาสตร์ วงจรLogic Flowchart การเขียนโปรเเกรมเบื้องต้น อ่านหนังสือคอมเยอะๆ ติดตามข่าสารด้วยจะดีมาก
6.ออกแบบสื่อปฎิสัมพันธ์และมัลติมีเดียออกแบบผลิตภันฑ์, Logo , การดูภาพ Perspective , โดยเฉพาะช่วยดูความถนัดถางสถาปัตยกรรม( อันนี้ไม่แน่ใจว่าพี่เขียนผิดอะป่าว นึกว่าศิลปะนะนี่) ออกแบบต้องคิดถึง Conceptให้มาก การดูภาพ เทคนิคที่ใช้ในการออกแบบ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษถือว่าจำเป็นมากในการเข้าเรียนสาขานี้
7.ทันตะพี่คนนี้เป็นคนสุดท้ายนึกว่าจะไม่ได้คุยกับเด็กทันตะซะแล้วแต่บังเอิญเขาเดินผ่านตอนขึ้นรถไฟฟ้าใต้ดิน เลยหน้าทนเดินเข้าไปคุยเลยฮาฮา แบบทดสอบทางจิตวิทยา อันนี้ก็เป็นแบบทดสอบจริงทำไปเถอะ มันมีเยอะมากเหอะๆ ไม่ต้องคิดอะไรถ้าเราเหมาะสมก็ติดเองทักษะวิชาชีพ สมัยพี่( ตอนนี้ปี 5 แล้วอาจจะนานไปนิดแต่ก็ดีกว่าไม่มีแนวเลย ) คือตัดกระดาษให้ตรง ดัดลวด ฝนชอร์คให้ได้ตามรูปแบบ หลักๆคือฝึกการใช้ประสาทสัมผัสของมือ เพราะเราต้องละเอียดมากๆ ( P.kla เอาไว้ค่อยเครียดหลักจากประกาศผลรอบแรก ฮาฮา )
วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2552
~อ่านหนังสือให้เวิร์ค มาจัดตารางเวลากัน !!~
อ่านหนังสือให้เวิร์ค มาจัดตารางเวลากัน !!
1. เลือกเวลาที่เหมาะสม
เวลาที่เหมาะสมหมายถึง เวลาที่เราอยากจะอ่านหนังสือ หรือว่างจากงานอื่น หรือเป็นเวลาที่อ่านแล้วได้เนื้อหามากที่สุด เข้าใจมากที่สุด ซึ่งเวลาของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน บางคนชอบอ่านตอนเช้า บางคนชอบอ่านตอนกลางคืนก่อนนอน บางคนชอบอ่านเวลากลางวัน แล้วแต่การจัดสรรเวลาของแต่ละคน ต้องเลือกดูเวลาที่เหมาะสมของตัวเอง และควรจัดเวลาอ่านหนังสือให้ได้อย่างน้อย 2 ชั่วโมง
2. วางลำดับวิชาและเนื้อหา
ขั้นตอนต่อมา คือ เลือกวิชาที่จะอ่าน มีหลักง่ายๆ คือ เอาวิชาที่ชอบก่อน เพื่อให้เราอ่านได้เยอะๆ และอ่านได้เร็ว ควรเลือกเรื่องที่ชอบอ่านก่อนเป็นอันดับแรก จะได้มีกำลังใจอ่านเนื้อหาอื่นต่อไป ไม่แนะนำวิชาที่ยาก และเนื้อหาที่ไม่ชอบ เพราะจะทำให้เสียเวลาเปล่า การอ่านหนังสือควรอ่านให้ได้ตามที่เราวางแผนเอาไว้ วิธีการก็คือ List รายการหรือเนื้อหา บทที่จะอ่านให้หมด จากนั้นค่อยเลือกลำดับเนื้อหาว่าจะอ่านเรื่องใดก่อนหลัง แล้วค่อยลงมืออ่าน
3. ลงมือทำ
ข้อนี้สำคัญมาก คือ ต้องลงมืออ่านอย่างจริงจัง อย่าผัดวันประกันพรุ่ง และต้องจริงจัง
4. ตรวจสอบผลงาน
ผลของการอ่าน ดูได้จากว่า ทำข้อสอบได้หรือไม่ ถ้าอ่านแล้วทำข้อสอบได้ ก็แสดงว่าอ่านรู้เรื่อง อ่านเข้าใจ ได้เนื้อหาจริงๆ แต่ถ้าอ่านแล้วทำข้อสอบไม่ได้ ก็ต้องกลับไปทบทวนใหม่ เมื่ออ่านแล้วก็ต้องจดบันทึกไว้ด้วย เพราะจะได้รู้ว่า อ่านไปถึงไหนแล้ว และได้เนื้อหาอะไรบ้าง การจดบันทึก ก็คือการทำโน้ตย่อนั่นเอง แล้วทำสรุปไว้เลยว่าอ่านอะไรไปแล้วบ้าง เก็บไว้ให้มากที่สุด จะได้เป็นผลงานของตัวเอง จะได้เก็บไว้อ่านเมื่อต้องการ หรืออ่านตอนใกล้สอบ
วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2552
~10 วิธีปฏิบัติ..ไม่พลาดในการสอบ !!!~
10 วิธีปฏิบัติ..ไม่พลาดในการสอบ !!!
กฎ 10 ข้ออันพึงประสงค์ในการสอบ
1.เวลาทำข้อสอบให้เขียนชื่อ-สกุล ชั้น ให้เรียบร้อย
2.ตรวจดูข้อสอบว่ามีครบทุกข้อหรือเปล่า (เช่น ข้อ1 ข้อ2 ข้อ4) ถ้าขาดหายไปให้รีบแจ้งอาจารย์ทันที
3.อ่านโจทย์อย่างน้อย 2 ครั้ง แล้วจึงตอบ (ตีโจทย์ให้เข้าใจก่อน)
4.ถ้าข้อไหนคิดไม่ออก ให้ข้ามไปทำข้อต่อไปทันที พอเสร็จจึงกลับมาทำข้อที่เหลือเพื่อไม่ให้เสียเวลา
5.ตรวจดูว่าเราใส่คำตอบตรงตามข้อหรือเปล่า ถ้าเป็นกระดาษคำตอบ ให้ตรวจว่าคำตอบตรงกับคำถามหรือเปล่า
10 วิธีปฏิบัติ..ไม่พลาดในการสอบ !!!
6.ถ้าใกล้หมดชั่วโมง ให้รีบตอบให้หมดทุกข้อ ห้ามเว้นไว้ เพราะบางทีอาจจะถูก แต่ถ้าเว้นไม่ก็ไม่มีโอกาสได้คะแนน
7.การอ่านทบทวนเป็นสิ่งสำคัญที่สุด หากทำข้อสอบแล้วไม่ทบทวน จะมีโอกาสถูกแค่ 80%
8.เวลาอ่านหนังสือ ไม่ควรอ่านหลายวิชาพร้อมๆกัน เพราะอาจงงเวลาสอบได้
9.ความเป็นระเบียบเวลาทำข้อสอบอัตนัย (บรรยาย)เราต้องเขียนให้เป็นระเบียบเพื่อจะได้อ่านง่าย และมีโอกาสถูกเพิ่มขึ้นถึง 5%
10.วิธีสุดท้ายนี้ได้มาจากอาจารย์ คือ เวลาทำข้อสอบต้องมั่นใจให้ได้ 50% ขึ้นไป เช่น ข้อสอบ 100 ข้อ ต้องมั่นใจว่าถูกกว่า 50 ข้อ แค่นี้ก็ไม่ตกแล้ว
นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ "ความมั่นใจ"
วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2552
~การเตรียมไปสอบสัมภาษณ์จ้า~
ขั้น แรก คือ เราต้องศึกษาข้อมูลสถานศึกษาที่เราจะไปสอบสัมภาษณ์ให้ดี เผื่อว่าเขาถามอะไรที่เกี่ยวกับสถานศึกษานั้นเราจะได้ตอบอย่างมั่นใจ
ขั้น ที่ 2 การแต่งกาย เราจะต้องแต่งกายให้เรียบร้อย สุภาพ เพราะเป็นที่แน่นอนอยู่แล้วว่าสถานศึกษาทุกที่ก็ย่อมต้องการคนที่มีระเบียบ เรียบร้อย
3. ก็คือต้องตรงเวลา วันที่เขานัดสอบสัมภาษณ์ เราควรไปให้ถึงก่อนเวลาอย่างน้อย 15 นาที เพื่อแสดงว่าเราเป็นคนกระตือรือร้น
4. คือ มารยาทงาม ไปลามาไหว้เป็นเรื่องสำคัญยิ่ง วางตัวให้อ่อนน้อมเข้าไว้ และทีเด็ดอีกอย่างหนึ่งก็คือยิ้มแย้ม แจ่มใส ไม่ว่ามันจะทำให้ลำบากใจแค่ไหน ก็ห้ามแสดงสีหน้าเครียดออกมาให้เห็น ต้องคุมสติให้ดี
5. รู้จักจังหวะ เมื่อเป็นผู้พูดที่ดี ก็ต้องหัดเป็นผู้ฟังที่ดีด้วย รู้ว่าเวลาไหนควรพูด และควรฟัง และอย่าพูดแทรกผู้สัมภาษณ์โดย้ด็ดขาด
6. ข้อสุดท้าย ก็คือ ตอบอย่างฉะฉาน พูดชัดเจน ตอบคำถามให้ตรงประเด็น พูดชัดถ้อย ชัดคำใช้คำพูดที่สุภาพ เรียบร้อย
ยังไงก็ลองนำไปใช้กันดูนะค่ะเผื่อว่าการสอบสัมภาษณ์ของคุณจะได้ผ่านฉลุย !!
วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2552
~4หนังสือ ควรอ่าน !!~
>> หนังสือเข็มทิศแนะนำ
พอจบ ม.6 แล้วไปไหน น้องๆ ตอบคำถามนี้ได้หรือยัง หากยัง หรือตอบได้แต่ยังไม่ค่อยชัวร์ พี่ลาเต้ แนะนำให้อ่านหนังสือแนวเข็มทิศนำทางนี้ เพราะหนังสือแนวนี้จะมีบอกว่า เมื่อจบ ม.6 ไปแล้วเราสามารถเดินตามความฝันในเส้นทางไหนได้บ้าง
ที่ผ่านมามีหลายคนที่อยากเป็นสจ๊วต ก็ต่างมุ่งมั่นสอบแอดมิชชั่นให้ติดในคณะธุรกิจการบิน เพื่อที่จะทำความฝันเป็นจริงให้ได้ แต่หากได้มาอ่านหนังสือแนวนี้ ก็จะรู้ว่ามีอีกหลายทางที่เราสามารถทำฝันให้เป็นจริงได้ และที่สำคัญง่ายกว่ากันมากๆ
>> หนังสือประสบการณ์แอดมิชชั่น
ไม่ค่อยมีขายมากนัก แต่ก็พอมีบ้าง เป็นหนังสือที่บอกเล่าเรื่องจริง จากประสบการณ์จริงในการสอบแอดมิชชั่น เมื่อเราได้อ่านแนวนี้ เราจะจินตนาการภาพออก และจะรู้ว่าต่อไปจะต้องเจออะไร ปัญหาแบบไหน ดังนั้นอ่านไว้ รู้ไว้ จะได้แก้ทัน
ในความคิดของ พี่ลาเต้ เชื่ออยู่อย่างหนึ่งว่าในการสอบแอดมิชชั่นนอกจากจะต้องแม่นในเรื่องความรู้ แล้ว ควรจะแม่นในเรื่องประสบการณ์ด้วย เพราะความรู้ทำให้เราเดินไปถึงจุดหมายได้ แต่ประสบการณ์จะช่วยเราแก้ปัญหาระหว่างทาง ซึ่งอะไรสำคัญกว่ากันลองคิดดู ^_^
>> หนังสือแนวข้อสอบเก่า หรือติวรับตรง
ถือเป็นหนังสือที่ช่วยชีวิตเด็กแอดมิชชั่นมาหลายๆ รุ่น ใครที่อ่านไม่ทัน หรือขี้เกียจอ่าน พี่ลาเต้ แนะนำให้ไปซื้อหนังสือแนวข้อสอบเก่ามาทำ แล้วน้องๆ จะไม่เชื่อสายตาว่าในบางครั้งเรากำลังทำข้อสอบของปีนี้อยู่เหรอเนี่ย.. พี่ลาเต้ เคยผ่านอารมณ์นั้นมาแล้ว
หนังสือติวรับตรง ก็เป็นอีกตัวอย่างที่น่าสนใจทั้งสมาท์วัน , ติวนิติศาสตร์ หรือติว กสพท. ส่วนใหญ่ก็มักจะได้รับความนิยม หนังสือเหล่านี้จะมีข้อดีตรงที่มีเฉลย ฝึกให้คนอ่านรู้วิธีแก้ วิธีทำ แต่พวกเฉลยบางเล่มก็เฉลยผิด ดังนั้นต้องดูให้ดี
>> หนังสือเกณฑ์คะแนนสูงต่ำ
หนังสือแนวสุดท้ายที่อยากจะนำเสนอคือ หนังสือเกณฑ์คะแนนสูงต่ำของการเลือกคณะเมื่อปีก่อนๆ หนังสือแนวนี้จะบอกให้เราทราบว่า เราควรทำโอเน็ตกี่คะแนน ทำเกรดเฉลียไว้เท่าไหร่ถึงพอจะมีสิทธิ์ในคณะนั้น
เคย มีน้องคนหนึ่งที่รู้จัก เขาซื้อหนังสือแนวนี้มาศึกษา และวางแผนกับตัวเองไว้เลยว่า สอบโอเน็ตต้องได้คะแนนเท่าไรห่ขึ้นไป สอบวิชาเฉพาะต้องห้ามต่ำกว่ากี่คะแนน ซึ่งเขาบอกว่าเป็นเครื่องย้ำเตือนสติ และความขยันได้เป็นอย่างดี
วันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2552
~เตือนภัยเข้าห้องน้ำสาธารณะ~
เหตุการณ์นี้เป็นเรื่องราวที่เพิ่งเกิดขึ้นสดๆ ร้อนๆ วันนั้นเธอไปเดินซื้อของที่ห้างสรรพสินค้าตามปกติ ระหว่างที่กำลังเดินซื้อของอยู่นั้นเองเธอเกิดรู้สึกปวดท้องขึ้นมา เธอจึงรีบเดินไปเข้าห้องน้ำ
เตือนภัย : ดูให้ดีก่อนเข้าห้องน้ำสาธารณะ
และด้วยความที่ปวดท้องมากนั่นเอง ทำให้ตอนที่เธอเข้าไปในห้องน้ำเพื่อทำธุระส่วนตัวนั้นเธอไม่ได้สังเกตถึง ความผิดปกติบางอย่าง เธอรีบนำของทุกอย่างที่ซื้อมาวางไว้ที่ด้านหลังของโถชักโครก ซึ่งทางห้างดีไซน์ไว้เป็นที่วางของ เธอก็วางของต่างๆ ที่ซื้อมารวมไปถึงโทรศัพท์มือถือ (เครื่องใหม่) เอาไว้
ระหว่างที่เธอกำลังทำธุระส่วนตัวของเธออยู่ ผู้ใช้บริการอีกคนมาเข้าห้องข้างๆ เธอ แต่ก็ไม่เอะใจอะไร ไม่นานนักเธอก็ได้ยินเสียงแกร๊กๆ จากห้องข้าง เสียงนั้นดังอยู่พักใหญ่ เมื่อเธอหันไปมองที่ข้าวของเธอ ปรากฏว่าโทรศัพท์หายไปแล้ว!!!
เธอเห็นมือแว๊บๆ ลอดออกมาจากแผงกั้นด้านหลังที่เปิดโหว่อยู่ (ซึ่งเธอไม่ได้สังเกตตอนเข้ามาเพราะรีบมาก) พร้อมกับได้ยินเสียงเปิดประตูห้องน้ำห้องข้างๆ ออกไปอย่างรวดเร็ว
เธอรีบตาลีตาเหลือกออกจากห้องน้ำแต่ก็ไม่ทัน คนร้ายได้ของไป เธอยืนมึนอยู่ซักพักนึงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ตั้งสติได้และรีบไปแจ้งกับเจ้าหน้าที่ทางห้าง เจ้าหน้าที่บอกว่า ต้องเอาหนังสือแจ้งความจาก สน. มาเค้าถึงจะอนุญาตให้เปิดเทปที่กล้องวงจรปิดจับไว้ได้
แน่นอนว่ากว่าจะถึงตอนนั้นคนร้ายก็คงนำโทรศัพท์ของเธอไปถึงไหนต่อไหนแล้ว ... เหตุการณ์นี้จึงเป็นอีกหนึ่งกรณีศึกษาที่น้องๆ ต้องจำเอาไว้เป็นบทเรียน เพราะอย่างที่พี่เหมี่ยวเคยเล่าให้น้องๆ ฟังหลายต่อหลายหนแล้วว่าภัยร้ายในสังคมนั้นใกล้ตัวเราแค่ลมหายใจรดต้นคอ เพราะฉะนั้น กันไปดีกว่าแก้ ระแวดระวังช่างสังเกตเอาไว้เป็นดีที่สุดค่ะ
วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2552
~11 สิ่งที่ต้องทำก่อนจบ ชีวิตนักเรียน ม.6 !!!!~
2.บอกรักรุ่นน้องที่เราแอบรักมานาน แล้วชวนไปเที่ยวด้วยกัน > < ( ถ้าไม่มี ดูข้อ 2.1 )
3.โดดเรียนวิชาที่อาจารย์โหดหินสุดๆสักครั้ง !!
4. พาเพื่อนๆทั้งหลายแล้วนำพวงมาลัย มาขอขมาอาจารย์ที่พร่ำสอนสักครั้ง
5. นัด กับเพื่อนๆทั้งห้องไปเที่ยวและถ่ายรูปเป็นที่ระลึกเอาไว้ เพราะอีกหน่อย เมื่อเราได้ไปในสถานที่แห่งนั้นอีกครั้ง ความทรงจำที่เราเคยมากับเพื่อนทั้งห้อง ไม่ว่าจะนานผ่านไป 1 2 3 5 10 ปีก็ยังอยู่ตรงนั้นตลอดไป
6. รีบเขียนเฟรนด์ชิพซะ !! ห้ามลืมเลยรู้มั้ย สำคัญมากๆ ข้อนี้สุดๆ
7.ขึ้นไปนำร้องเพลงเคารพธงชาติ หน้าเสาธงสักครั้ง / หรือออกไปพูดหน้าเสาธงว่า "ผมรักเพื่อนๆ คุณครูทุกคน และ รร.นี้ครับ" กล้ามั้ยล่ะ ?
8.ถ่ายรูปกับคนที่เราแอบปลื้มในวันจบการศึกษา งานปัจฉิม
9. รวมพลคน ม.6 ทำความสะอาด รร. ครั้งใหญ่สักครั้ง เป็นการตอบแทนก่อน จะจบจากโรงเรียน ไป
10.ร้องเพลงเหล่านี้ กับเพื่อนๆสักครั้งก่อนจะอำลาจากกันไป (น้ำตาท่วม)
11.เก็บ รวบรวมความทรงจำดีๆ ที่ได้รู้จักกับเพื่อน อาจารย์ รวมทั้งประสบการณ์ที่ได้จากโรงเรียนแห่งนี้ ที่ได้รู้จักบทเรียนต่างๆ ได้สุข ได้ทุกข์ หัวเราะ และ ร้องไห้ แล้วเก็บมันไว้ในหัวใจตลอดไป
วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
~[howto]7วิธีดูสอบอย่างไรไม่ให้ตก~
2.มองโลกในแง่ดี ข้อนี้เหมือนจะไม่เกี่ยวเท่าไหร่แต่เราว่ามันเกี่ยวจริงๆค่ะ เราเจอพวกที่ชอบคิดว่า "ดูไปก็ตกอยู่ดี" ไม่ก็ "ไม่อ่านหรอกตกเดี๋ยวซ่อมเอาได้"
.
.
.
มัวแต่คิดอย่างนี้แล้วเมื่อไหร่คุณจะก้าวหน้า!!
ไม่คิดจะพยายามตั้งแต่ยังไม่เริ่มเลย ยังไม่เห็นข้อสอบแต่คุณก็บอกว่าตกแล้ว มัวแต่คิดแบบนี้แล้วเมื่อไหร่คุณจะพยายาม เมื่อไหร่คุณจะเริ่ม คะแนนดีๆไม่ไกลเกินฝันหรอกถ้าคุณตั้งใจอะ(ถึงไม่ตั้งใจตอนเรียนแต่ไม่ตกตอนสอบแล้วกัน) บอกเลยว่าจะสอบต้องยิ่งมองโลกในแง่ดีให้มีกำลังใจ "เราต้องทำได้" หรือ "คนอื่นทำได้ทำไมเราจะไม่ได้" ให้กำลังใจตนเองแล้วจะดูหนังสืออย่างตั้งใจได้ไอความคิดแบบข้างบนทิ้งไปได้เลยค่ะ
ตอนนี้เรายึดคตินี้ว่า "ขยันตอนท้ายยังดีกว่าไม่ทำอะไรเลย!"(อย่างน้อยได้สักคะแนนยังดีกว่าไม่ได้อะไรเลยจริงๆ)
ความจริงเคยมีคนแนะนำวิธีให้กำลังใจตนเองโดยเอากระดาษมาเขียนว่าสู้ๆไว้แล้วแปะไว้ข้างๆโต๊ะอ่านหนังสือแล้วจะมีกำลังใจ(แต่เราทำดูแล้วไม่ได้ผลแฮะวิธีนี้)
3.ความพร้อมของเนื้อหา เราเป็นพวกไม่ชอบจดเลกเชอร์ค่ะ(ขอสารภาพเลย)ตอนสอบก็จะยืมเพื่อนเอา(คนดี?) พูดตรงๆเลยค่ะว่าเพราะไม่จดและไม่ขยันในชั่วโมงแต่เพราะไม่อยากตกเลยต้องมาขยันตอนสอบเอา(เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีต่อรุ่นน้องจริงๆ(ฮา)) และก็เพราะตัวเองไม่มีเนื้อหาเลย ถึงต้องเตรียมตัวหาข้อมูลมาให้มากที่สุดเพราะไม่งั้นจะสู้เพื่อนไม่ได้เลย(นี่คือข้อเสียของการไม่ตั้งใจเรียนจริงๆเพราะจะหนักกว่าคนอื่นมากๆ=[]='')
ไปๆมาๆเลยได้ข้อคิดมาใหม่คือ "ถ้าคิดจะไม่ตั้งใจเรียน ก็ต้องไม่สอบตก!!"
4.การอ่านท่องจำกับการอ่านให้เข้าใจ เราเป็นพวกสมองปลาทองค่ะ ให้ท่องจำอะไรจำไม่ได้เลย จำได้เดี๋ยวเดียวก็ลืม แล้วยิ่งรอบนี้ไม่ตั้งใจเรียนด้วยแล้วยิ่งต้องมานั่งทำความเข้าใจบทเรียนเองอีก(แต่จะว่าใครไม่ได้จริงๆก็เพราะทำตัวเอง) เราอ่านหนังสือสอบจะนานมากๆเลยค่ะเพราะต้องนั่งทำความเข้าใจทุกบรรทัด นั่งคิดเชื่อมโยงกันไปเพื่อทำความเข้าใจเนื้อหาทั้งหมด แต่มันก็มีข้อดีจริงๆค่ะที่ทำให้เราเข้าใจเรื่องที่จะสอบ(ถึงจะอ่านนานก็เถอะ) ถ้าเข้าใจเวลาเจอข้อสอบจะบรรยายได้ง่ายกว่าท่องจำหรืออธิบายตามที่เราเข้าใจจริงๆ แต่ความจริงมันก็ต้องท่องจำด้วยส่วนนึง(เช่นชื่อต่างๆ)เราก็จะหาคำทำให้มันตลกๆไว้ค่ะ(จำได้จริงๆOWO(ฮา))
5.โน้ตย่อ เมื่อก่อนเรายังไม่เข้าใจเลยค่ะว่าเค้าย่อกันยังไงพึ่งมาเข้าใจก็ไม่นานมนี้เอง=U=''(แต่มันก็ช่วยได้จริงๆค่ะโดยเฉพาะกับเวลาที่ต้องดูสอบหนัก) ความจริงจดอย่างเดียวมันจะน่าเบื่อมากๆเลยค่ะ เพราะยังงั้นโน้ตย่อของเราเลยมีภาพประกอบเต็มไปหมดเลย(ฮา)
แต่เชื่อมั้ยคะ? มีคนมาขอยืมโน้ตย่อเราไปซีร็อกซ์เพราะชอบการ์ตูนที่วาด OWO 55
6.ไม่เครียด สอบอย่าไปเครียดค่ะ ยิ่งเครียดจะยิ่งฟุ้งซ่านสุดท้ายจะรู้สึกหมดกำลังใจและจะไม่อยากอ่านหนังสือ มีคนถามว่านอกจากไม่ตั้งใจแล้วทำไมถึงไม่เครียดเลยหละ ไม่กลัวคะแนนเหรอ? ..กลัวสิ กลัวมากเลยด้วยแล้วไม่ใช่ว่าเราไม่เครียดแต่เราเครียดแบบพอให้แค่เป็นแรงกระตุ้นในการเรียนก็พอ ควบคุมความเครียดอย่าให้มันเกินเลย อย่าให้เครียดมากไปจะมีแต่ผลเสียเอาแต่พอดีก็พอจริงๆค่ะ(ถ้าไม่เครียดเลยมันจะไร้แรงกระตุ้นจริงๆค่ะ ก็คงจะปล่อยๆไปจนไม่มีกำลังใจอ่านหนังสือเช่นกัน(เหมือนทางสายกลางเลย(ฮา)))
7.คำอวยพร มันเกี่ยวกับคำอวยพรยังไง? เราว่าเกี่ยวค่ะยิ่งคุณปรารถนาจะให้คนอื่นได้ดีเท่าไหร่ผลกรรมนี้ก็จะสะท้อนเข้าตัวคุณค่ะ แล้วการไปอวยพรให้คนอื่นๆคนเค้าก็จะมองคุณดีด้วยเช่นกัน (ข้อนี้ความเชื่อส่วนบุคคลค่ะ)
หมดแล้วค่ะจากการสอบครั้งนี้ทำให้เราได้อะไรหลายๆอย่างจริงๆเพราะปีนี้ไม่เหมือนปีที่แล้วจะเรียนแบบนี้ต่อไปไม่ได้(ไม่งั้นจะมาหนักเหมือนรอบนี้)ถือซะว่าสอบรอบนี้คือการวอร์มให้หายจากสภาพชินกับปิดเทอมละกันค่ะ ถึงแม้จะเป็นสอบกลางภาคแต่ก็สำคัญไม่แพ้ปลายภาค
ปล.เดี๋ยวจะหมดเวลาพักแล้วเดี๋ยวไปอ่านหนังสือต่อก่อนละกันค่ะ
วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
~ระเบียบการ 53 จ้า~
รศ.ดร.มณฑล สงวนเสริมศรี ประธานคณะทำงานศึกษาแอดมิชชั่นปี 2553 ของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย หรือ ทปอ.เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้ข้อยุติปฏิทินการคัดเลือกระบบแอดมิชชั่นปี 2553 แล้ว โดยจะมีกหนดการดังนี้
>>>ประกาศระเบียบการคัดเลือก ในวันที่ 7-20 เม.ย. 2553 ทางเว็บไซต์ สกอ.
>>>จำหน่ายระเบียบการวันที่ 7-20 เม.ย. 2553 ที่ศูนย์สอบกรุงเทพฯและส่วนภูมิภาค
>>>รับสมัครทางเว็บไซต์ของ สกอ. วันที่ 11-20 เม.ย. 2553
>>>ชำระเงินค่าสมัครวันที่ 11-22 เม.ย. 2553
>>>ประกาศผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ ทางเว็บไซต์ของ สกอ. วันที่ 9 พ.ค. 2553
รศ.ดร.มณฑล กล่าวอีกว่า สำหรับสัดส่วนค่าน้ำหนักองค์ประกอบการแอดมิชชั่นปี 53 นั้นยืนยันชัดเจนไปแล้วจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง ส่วนกรณีที่บางมหาวิทยาลัยไม่พอใจค่าน้ำหนักองค์ประกอบที่ ทปอ.กำหนด และจะไปรับตรงเองนั้น ก็อยากให้ใช้คะแนน GAT และ PAT เป็นองค์ประกอบด้วย
เอาหละ.. ตอนนี้ตารางการสอบ GAT PAT ครั้งที่ 2 และ 3 รวมถึงระเบียบการแอดมิชชั่นก็ออกมากันแล้ว.. น้องๆ ก็ตีตารางวางแผนชีวิตกันได้เลย สู้ๆๆ
วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
~เทคนิคการเลือกคณะและจัดอันดับอย่างมีประสิทธิภาพ~
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่สอบ Entrance ได้ส่วนใหญ่เกิดจากการเตรียมตัวดี คือ เตรียมความพร้อมในการสอบได้ดี การเตรียมตัว ที่ดีมิใช่การอ่านหนังสือมากเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่หมายถึงการรู้รอบ ได้แก่ การรู้ทุกเรื่องหรือ รู้เรื่องเกี่ยวกับการสอบ Entrance ให้มากที่สุดทุกแง่ทุกมุมแล้วศึกษาตนเองว่าเหมาะสมกับ แง่มุมใดแล้วเตรียมตัวในทิศทางนั้น บางคนเรียนได้คะแนนดี แต่สอบ Entrance ไม่ได้ บางคน เรียนได้คะแนนไม่ดี แต่สอบ Entrance ได้ เหตุผลก็คือเด็กเรียนดีมักประมาทตรงกันข้ามกับ เด็กเรียนไม่ดีแต่ขวนขวายที่จะหาเทคนิคและวิธีการในการหาความรู้ใหม่ๆ มาเพิ่มเติมให้ตนเอง อยู่เสมอ ในที่นี้จะนำเสนอเทคนิคการเลือกคณะและจัดอันดับซึ่งเป็นเรื่องสำคัญอย่างหนึ่งในการ เตรียมตัวสอบ Entrance ดังต่อไปนี้
1. การพิจารณาแนวทางชีวิตของตนเอง นัก เรียนต้องคิดไว้แล้วว่า นักเรียนจะต้องประกอบอาชีพใด และควรจะเรียนต่อในสาขา วิชาใด จึงจะตรงกับความถนัด ความสามารถและความสนใจของตนเอง และทดลองเลือกคณะที่ อยู่ในความสนใจของตนเอง
2.การพิจารณาข้อมูลที่จำเป็น เมื่อได้ทดสองเลือกคณะที่พอใจ10คณะแล้วนักเรียนจำเป็นที่จะต้องค้นหาข้อมูลที่ สำคัญของแต่ละคณะในเรื่องต่างๆ
3. เทคนิคการเลือกคณะและจัดอันดับที่มีประสิทธิภาพ การพิจารณาเลือกคณะต้องเลือกอย่างฉลาด คือ ต้องประหยัดเวลา ประหยัดแรงงาน ประหยัดสมอง และประหยัดเงิน (ลงทุนน้อยให้ได้ประโยชน์มากที่สุด) ซึ่งต้องพิจารณาในสิ่งต่างๆ ดังนี้
3.1 ทั้ง 4 คณะต้องสอบกลุ่มวิชาเดียวกัน ไม่ควรสอบหลายกลุ่มวิชา เพราะทำให้ เปลืองเวลา เปลืองเงิน เปลืองสมอง ได้ผลน้อย
3.2 ทั้ง 4 คณะต้องตรงกับคุณสมบัติของนักเรียน ไม่ควรเลือกเผื่อเอาไว้ เพราะหมายถึง การขาดความมั่นใจในตนเอง อันเป็นอุปสรรคสำคัญของการสอบ คือ คิดว่าสอบตกตั้งแต่ยังไม่ได้สอบแล้ว
3.3 ทั้ง 4 คณะนักเรียนต้องชอบจริง ไม่ควรเลือกตามเพื่อน คณะที่เพื่อนชอบ หมายถึง คณะที่เพื่อนอยากได้ คณะที่นักเรียนชอบ คือ คณะที่นักเรียนอยากได้ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน
3.4 ทั้ง 4 คณะที่นักเรียนเลือก คะแนนนักเรียนต้องถึงเกณฑ์ตามคุณสมบัติของแต่ละคณะที่เขาตั้งไว้ คือ นักเรียนต้องผ่านเกณฑ์ก่อน เมื่อผ่านเกณฑ์ก็มิได้หมายความว่า นักเรียน สอบได้ เพียงแต่ได้สิทธิ์สมัครเข้าคัดเลือกเท่านั้น ซึ่งจะต้องมีการพิจารณาตัดสินกันอีกครั้งจากคะแนนสูงสุดของผู้สมัคร
3.5 ทั้ง 4 คณะที่นักเรียนเลือกต้องมั่นใจว่าเรียนได้ จบได้ตามเวลาที่กำหนด ไม่ควรฝัน จะเลือกคณะที่มีคะแนนสูง เพราะความโก้เก๋ หรือเลือกเพราะไม่รู้ว่าจะเลือกคณะอะไรดี ซึ่งอาจสอบไม่ได้หรือสอบได้ แล้วสละสิทธิ์ไม่เรียน เป็นต้น
3.6 ที่สำคัญที่สุด คือ เลือกคณะที่นักเรียนมั่นใจว่าสอบได้ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ข้อมูลทางสถิติอ้างอิงว่านักเรียนจะสอบได้ ถ้าหากไม่มั่นใจไม่ควรเลือก
4. เลือกอย่างไรจึงจะสอบได้ นักเรียนที่ได้คะแนนดี แต่สอบไม่ได้เพราะเลือกไม่เป็นนั้นมีเป็นจำนวนมาก จึงขอให้ใส่ใจ กับวิธีการ ในข้อนี้ให้มากจากข้อมูลที่รวบรวมมาจากข้อ 1 ถึงข้อ 3 นั้นให้นำมาใช้ ดังต่อไปนี้
- ขั้นที่ 1 ทดลองเลือกคณะที่นักเรียนชอบมา 10 คณะ ซึ่งอาจจะเปลี่ยนแปลง หรือปรับ มาจากข้อที่ 1
- ขั้นที่ 2 ใส่คะแนนสูงต่ำ โดยหาค่าเฉลี่ยของคะแนนสูงต่ำของคณะที่นักเรียนเลือกทั้ง 10 คณะ คะแนนสูงต่ำที่ใช้ควรใช้ปีสุดท้าย หรือนับ 5 ปีย้อนหลังก็จะดี
- ขั้นที่ 3 หาค่าคะแนนตนเองจากการสอบ Entrance ที่ประกาศผลมาแล้ว หรือจะทดลองทำข้อสอบเก่า
โดยการพิจารณา ดังนี้
- เอาคณะที่นักเรียนชอบมากที่สุดไว้เป็นอันดับ 1
- อันดับที่ 2 ควรเป็นคะแนนรองลงมา
- ไม่ควรเลือกคณะที่คะแนนใกล้กันมาก ควรให้ทิ้งห่างอย่างน้อย 5-10 คะแนน
- ทั้ง 4 อันดับต้องแน่ใจว่า นักเรียนเต็มใจเรียน เรียนได้ดี และสามารถจบตามเวลา ที่กำหนด
- ทั้ง 4 คณะนี้ คะแนนต้องถึงเกณฑ์ที่กำหนดแต่ละคณะ ถ้าคณะใดคะแนนของนักเรียน ไม่ถึงเกณฑ์ให้ตัดทิ้ง
- ถ้า ทั้ง 4 คณะ คะแนนไม่ถึงเกณฑ์ทั้งหมดให้ปรึกษาอาจารย์แนะแนว ซึ่งมีวิธีเลือกคณะ แบบใหม่ที่ทำให้ผู้ได้คะแนนน้อยมีโอกาสสอบได้ เพราะคนได้คะแนนน้อยไม่ได้หมายความว่ามี ความรู้น้อย อาจารย์แนะแนวมีวิธีการที่จะตรวจสอบความสามารถและชี้แนะแนวทางการนำเอา ความรู้ที่แท้จริงมรใช้เลือกคณะแทนการใช้คะแนนเป็นตัวตัดสิน
5. ข้อควรระวัง
- ไม่ควรสอบข้ามสาย เช่น เรียนสายวิทย์ แต่ไปสอบสายศิลป์ หรือเรียนสายศิลป์ แต่ไป สอบสายวิทย์ เป็นต้น
- ไม่ควรเลือกคณะปนกันทั้งสายวิทย์และสายศิลป์ เพราะทำให้สอบวิชามากเกินไป
- ไม่ควรเลือกคณะที่คะแนนนักเรียนไม่ถึงเกณฑ์ จะทำให้เสียเงินและเสียเวลาเปล่า ถ้าอยากเสี่ยงทดลองเลือกควรเสี่ยงเลือกเพียงคณะเดียว ไม่ควรเสี่ยงทั้ง 4 คณะ
- ไม่ควรเลือกตาม เพื่อน พี่ พ่อ แม่ ญาติ หรือคนอื่น ควรเลือกตามข้อมูล ตามเหตุผล และเลือกที่ตรงกับความถนัด ความสามารถและความสนใจของนักเรียนอย่างแท้จริง
- ไม่ควรยึดติดสถาบัน ควรดูคะแนนตัวนักเรียนเอง และเอาตัวนักเรียนเป็นตัวตั้ง ไม่ใช่ เอาสถาบันเป็นตัวตั้ง
- ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นว่าต้องได้ แต่ไม่ควรประมาท และต้องวางแผนให้ดีรัดกุมทุกเรื่อง ถ้าพลาดต้องคิดว่าเราวางแผนบกพร่องที่ใด ครั้งต่อไปต้องมั่นใจกว่าเดิม
- ไม่ควรมุ่งไปที่มหาวิทยาลัยปิดอย่างเดียว ควรเตรียมแผน 2 ไว้ที่มหาวิทยาลัยเปิด แผน 3 ไว้ที่สถาบันอุดมศึกษาอื่นบ้าง
- ไม่ควรเลือกสาขาเดียว 4 อันดับ เช่น แพทย์ 4 อันดับ วิศวะ 4 อันดับ หรือสถาปัตย์ 4 อันดับ เป็นต้น เพราะเสี่ยงเกินไป
- อย่าลืมปรึกษาอาจารย์แนะแนว เพราะท่านมีประสบการณ์ดีๆ หลายอย่างที่จะเสนอ แนะให้แนวทางที่ช่วยตัดสินใจได้
วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
~สอบ GAT-PAT ~
พรุ่งนี้แล้วววว ว ลองทำข้อสอบเยอะ ๆ
ส่วนภาษาอังกฤษก็ ท่องศัพท์กันไปนะ ศัพท์ยากๆทั้งนั้น
สู้ ๆ เป็นกำลังใจให้ตัวเอง และเพื่อนๆผู้สอบGAT-PAT ทุกท่าน
จบการรายงานข่าว !
วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2552
~ด่วน เปิดแล้วจ้า !!!~
มศว.เปิดสอบตรงแล้ว
เอาข่าวสอบตรงของ มศว.มาอัพเดทจ้า
รับสมัครสอบคัดเลือกเข้าเป็นนิสิต ระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2553 (สอบตรง) | |
| มศว รับสมัครสอบคัดเลือกเข้าเป็นนิสิต ระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2553 (สอบตรง) ตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2552 ถึงวันที่ 23 สิงหาคม 2553 ดูรายละเอียดได้ตั้งแต่ 22 มิถุนายน 2552 เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป ที่เว็บไซต์ http://admission.swu.ac.th "รับสมัครนิสิตใหม่" และสมัครผ่านอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ลองเข้าไปดูกันนะ สู้ ๆ เลือกคณะให้เหมาะสมกับตัวเองให้มากที่สุดนะ ตั้งใจทำและคิดให้ดีที่สุด แล้วในอนาคต เราจะไม่เสียใจกับสิ่งที่เราคิดและทำอย่างตั้งใจ |
วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2552
~ สอบเข้ามหาวิทยาลัย เพื่อนช่วยเราได้~
ในช่วงเวลานี้น้องๆกำลังจะเปิดเทอมใหม่ น้องๆหลายคนคงจะวุ่นกับการเตรียมตัวขึ้น ม.6 เพื่อเป็นพี่ใหญ่ที่สุดในโรงเรียน และก็มีอีกหลายคนที่กำลังสับสนกับการสอบเข้ามหาวิทยาลัยรูปแบบใหม่ ซึ่งน้องๆก็ได้ติดตามเป็นอย่างมากมาตั้งแต่น้องๆปิดเทอมกันแล้ว รุ่งขึ้นใน วันใหม่น้องๆก็จะได้กลับไปโรงเรียนที่แสนจะคิดถึงตลอดเวลาที่น้องๆต้องจาก โรงเรียน จากเพื่อนมาชั่วคราว พี่เชื่อแน่ว่า วันแรกที่น้องๆพบกัน ก็คงจะถามว่า ไปทำไรกันมา ไปไหนมามั่ง แต่เรื่องที่ฮิตติดปากเด็กมอหกตั้งแต่วันแรกพบที่ย่างก้าวเข้าสู่ประตูรั้ว โรงเรียนก็คือการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการสอบเข้ามหาวิทยาลัยอย่างแน่ๆๆ (พี่เดาถูกป่าวเนี้ย เพราะพี่ก็เคยเป็นเช่นนั้นมาก่อน) น้องๆหลายคนอาจจะทำเป็นไม่สนใจก็เพราะกลัวสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาเร็ววันนี้ แต่ก็มีน้องๆหลายคนที่ถกปัญหาใหญ่ว่า จะเตรียมตัวอย่างไร จะเริ่มตรงไหนก่อน อีกไม่กี่เดือน จะอ่านทันป่าว ซึ่งแต่ละปัญหาของน้องๆ เพื่อนๆของน้องสามารถช่วยแก้ได้ครับ โดยการปรึกษาคุยกันหลายๆๆคน จะได้พบกับความคิดใหม่ๆ วิธีการแปลกๆๆ เพื่อนๆน้องๆเอาหนังสือมาแลกกันอ่าน สอนทำโจทย์ต่างๆๆ โจทย์อันไหนทำไม่ได้ก็รีบไปถามเพื่อน เพราะว่า เพื่อนจะเข้าใจภาษาเดียวกัน เพื่อนจะใช้ภาษาง่ายๆในการสอนการติว ต่างกับที่น้องไปถามอาจารย์ ซึ่งจะได้รายละเอียดที่ดีและภาษาที่น่าฉงนกลับมา ซึ่งน้องก็อาจจะไม่กล้าถามบางอย่าง เพราะน้องอาจกลัวอาจารย์ดุได้ แต่ถ้าถามเพื่อน น้องจะกล้ามาก และเพื่อนก็คงไม่กล้าดุน้องมั่งครับ แต่ถ้ามีเพื่อนดุ น้องก็คงจะสวนกลับ ฮิๆๆ แต่ก็ทำให้การสอนทำความเข้าใจในสิ่งนั้นๆ น้องกระจ่างได้ง่ายครับ การที่น้องๆหากลุ่มเพื่อนซักกลุ่มแล้วช่วยกันติว ช่วยกันหาข้อมูลการสอบเข้ามหาวิทยาลัย พี่ว่าจะช่วยได้มากๆๆเลยนะครับ ยิ่งถ้าน้องมีแกนนำหาข้อมูลต่างๆแบบว่าเต็มกำลัง น้องๆๆจะพลอยได้รับอานิสงส์ที่ดีจากเพื่อนด้วยนะครับ เวลาอ่านหนังสือกับเพื่อน ก็อย่าเม้าท์หรือเล่นกันจนทำให้การอ่านล้มเหลวนะน้อง สถานที่อ่านหนังสือที่ดีสำหรับกลุ่มเพื่อน พี่แนะนำ ห้ามไปอ่านในห้องสมุด เพราะน้องๆม.6 จะติวกันเสียงดังลั่นสนั่นห้องแน่ๆๆ ฮิ สงสารเจ้าหน้าที่ห้องสมุดที่จะต้องลุกมาดุให้น้องๆเงียบๆ ฉะนั้น มุมที่ดีที่สุดคือ โต๊ะหินอ่อนแถวสวนโรงเรียนหรือไม่ก็ใต้ถุนอาคาร ไม่ก็เปิดห้องเรียน สอนขึ้นกระดานกันไปเลย แบบว่าให้คนที่เก่งๆเรื่องนั้น สอนขึ้นกระดานเลยก็จะเยี่ยมมากครับ ถ้าน้องๆทำได้ น้องๆจะรักกันไปอีกนานครับ เพราะความผูกพันมันก็เริ่มที่ตรงนี้แหล่ะครับ ความเป็นเพื่อนช่วยน้องได้อย่างยิ่งเลยนะครับ แต่อย่าไปลอกข้อสอบกันละ มันไม่ดีครับ (แต่พี่ก็เคยทำ ไม่นะไม่จริง หรือว่าจริง ช่างเถอะ ผ่านมานานแล้ว ก๊ากๆ) พี่ขอฝากให้น้องๆรักกันมากๆๆนะครับ มีอะไรดีๆๆก็แบ่งปันกันอ่าน กันดู กันทำ แล้วน้องๆจะมีความรู้สึกที่ดี ที่ได้มาจากการช่วยเหลือแบ่งปันให้เพื่อน นั้นแหล่ะครับ ความเป็นมิตรที่แท้จริงครับ ที่สำคัญอย่าพากันเครียดมากไปนะครับ หากิจกรรมผ่อนคลายอารมณ์กันมั่งก็ดีครับ แต่อย่ามัวผ่อนคลายอารมณ์กันมากละ เดี๋ยวจะอ่านหนังสือไม่ทัน สอบไมได้กันอีก ทีนี้เรื่องใหญ่แน่ๆๆ พี่ขอให้น้องๆโชคดีกับเพื่อนๆในการเตรียมตัวสอบเข้า มหาวิทยาลัยนะครับ แรงใจส่งไปให้ทุกคน สู้ๆๆๆ
วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2552
~เรียนไปทำไม~
ใช่ ! แค่ ดวงจันทร์และดวงดาวก็บ่งบอกได้แล้วถึงความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮ์ ละสายตาจากท้องฟ้ากว้าง ก็หันมาสำรวจตัวเอง วันนี้เครียดจัง มีสอบติดต่อกันมาหลายวัน เฮ้อ ! เหนื่อย ( เป็นการถอนหายใจครั้งที่เท่าไรแล้วก็ไม่รู้ ก็มันนับไม่ถ้วนแล้วนี่ ) “หนู ! เรียนที่ไหนเหรอ? หญิงสูงวัยคนหนึ่งถามขึ้นขณะที่นั่งรอรถด้วยกันคงเป็นชุดที่ฉันใส่อยู่ตอนนี้แน่เลยที่บ่งบอกออกมาชัดเจนว่าฉันยังทำอาชีพเกาะพ่อเกาะแม่อยู่ ( คือยังเรียนอยู่นั่นเอง ) แต่ฉันก็ไม่ทันได้ตอบออกไป เพราะสิ้นคำถามเขาก็ได้รับคำตอบทันที เมื่อเห็นกระเป๋าหนังสือที่มีตราสัญลักษณ์ของโรงเรียน อ๋อ ! โรงเรียน……… อยากบอกทั้งชุดนักเรียนและกระเป๋าเหลือเกินว่าตลอดปีที่ผ่านมา วันนี้มันทำหน้าที่ได้ดีมากเหลือเกินที่สามารถเป็นเป้าสายตาของหญิงสูงวัยคนนี้ได้ และยังทำให้ฉันกลายเป็นคนมีอดีตไปกับมันด้วย แล้วเรียนไปทำไมเหรอ ? นี่ ท่านป้ายังคงสงสัยต่อไป “ กว่าจะจบออกมาก็เสียตังค์ไปหลายแสน บางคนทำงานก็ได้เงินเดือนน้อยกว่าคนที่ไม่เรียนอีก ผู้หญิงก็แต่งงานเลี้ยงลูกอยู่บ้าน แค่เนี๊ยะ เสียดายเงินเปล่าๆ ” แหม ! ถามเองแถมแย้มความคิดเห็นของตัวเองไปด้วยนิดๆ ช่างเป็นคำตอบที่ยากเย็นสำหรับนักเรียนมัธยมต้นตาดำๆคนนี้เหลือเกิน (นึกในใจค่ะ ) นี่เป็นคำถามที่ฉันไม่เคยลืมมันเลย ( ขนาดคำถามของอาจารย์ที่ฟังอยู่ทุกวี่ทุกวัน ยังคืนให้อาจารย์วันต่อวันเลย) ฉันก็ได้แต่นั่งยิ้ม ก็ตอนนั้นคิดไม่ออกจริงๆว่าจะตอบอะไรไปดี ง่าย ๆ ก็คือ อึ้ง เวลาผ่านมาหลายปีแต่คำพูดนั้นก็ยังกึกก้องอยู่ในโสตประสาทอยู่ร่ำไป นั่นสิ เรียนไปทำไม ? เหนื่อยก็เหนื่อย ตังค์ก็หมดไปไม่ใช่น้อยแล้วน่ะ ยิ่งบางวิชาลงทะเบียนเรียนกันไม่รู้กี่รอบ (สำหรับคนที่ไม่ค่อยได้เรื่องอย่างฉัน ) เพื่อนคนที่ไม่เรียนเขาก็มีความสุขกันดีนี่ ทำงานโรงงาน เป็นพ่อค้าแม่ค้า หรือ ช่วยพ่อแม่ออกเรือหาปลา ที่สำคัญอายุก็เท่ากัน แต่เขาไม่ต้องมานั่งแบมือขอตังค์พ่อแม่เหมือนกับเรา แต่ในใจลึกๆ ยังไง ฉันก็ยังเห็นว่า การเรียนยังคงเป็นสิ่งจำเป็นอยู่ดี “ประทานโทษน่ะค่ะ เพราะอย่างน้อย ความรู้ไม่ใช่เหรอที่ทำให้ป้าได้นั่งรถตู้คันนี้จากสงขลาไปปัตตานี แทนที่จะนั่งควายเทียมเกวียนเหมือนสมัยก่อน แล้วแม่ที่รู้หนังสือกับไม่รู้หนังสือก็ต่างกันน่ะค่ะ ตรงที่การอบรมเลี้ยงดูลูก เพราะแม่คือ ครูคนแรก และคนสำคัญ ใช่ว่าจ่ายค่าเทอมของลูกไปแล้ว แล้วผลักภาระให้กับครู เพราะ เราไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยเงิน อีกอย่างลูกก็ต้องโตไปพร้อมๆกับความก้าวหน้าของโลก ถ้าเราไม่ทันโลกแล้วเราจะทันลูกได้อย่างไร ยิ่งหากไม่มีวัคซีนป้องกันที่เรียกว่าอีมาน และ ตักวา ให้กับลูกแล้ว ก็ยากยิ่งนักที่ลูกจะไปหาได้จากที่อื่น ในเมื่อครอบครัวตัวเองยังไม่มี แล้วจะไปหาจากสังคมที่เลวร้ายอย่างทุกวันนี้ได้อย่างไร ที่สำคัญความรู้ทำให้เราได้รู้จักกับพระเจ้า ธรรมชาติ ทะเล ภูเขา จะเกิดขึ้นมาเองได้อย่างไร ก็ต้องมีผู้สร้างอย่างแน่นอน กลางวัน กลางคืน ก็ต้องมีผู้ควบคุม แล้วอีกอย่างนึงความรู้เป็นมรดกจากท่านนบี ในขณะที่ทรัพย์สินเงินทองเป็นมรดกของฟิรอูนกษัตริย์ผู้หยิ่งยะโส ความรู้ยิ่งให้ยิ่งเพิ่มพูนแต่ทรัพย์สินยิ่งให้ยิ่งลด แล้วความรู้ก็เป็นตัวพาเราไปสู่หนทางแห่งสวรรค์ ในขณะที่เงินทองกลับเป็นตัวดึงเราสู่ไฟนรก “ นี่แหละ คำตอบของฉัน อาจจะยังน้อยไปด้วยซ้ำสำหรับการบอกให้โลกรู้ว่าความรู้สำคัญแค่ไหน แต่ก็ยังไม่เสียดายเท่ากับการที่ไม่ได้ตอบกับคนที่ถามฉันโดยตรง นึกถึงเรื่องนี้แล้วก็ต้องเสียดายอยู่ร่ำไปเพราะไม่สามารถงัดความรู้ที่ตนเองมี ( อย่างน้อยนิด ) ออกมาใช้ให้เป็นประโยชน์เลย แล้วถ้าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับคุณล่ะ คุณจะตอบยังไง อย่าลืมช่วยบอกให้โลกรู้ต่อ ๆ กันด้วยน่ะค่ะว่าความรู้สำคัญไฉน ?
การเรียนในสถาบันการศึกษาเป็นเพียงแค่เสี้ยวหนึ่งของการเรียนรู้ในอิสลาม เพราะจะไม่มีประโยชน์อันใดเลยหากจบการศึกษาดีๆหรือในระดับสูงแต่กลับสูญเสียคุณค่าที่แท้จริงของการศึกษาไป
วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2552
~มหาวิทยาลัยในประเทศไทย~
1.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ http://www.ku.ac.th
2.มหาวิทยาลัยกรุงเทพ http://www.bu.ac.th
3.มหาวิทยาลัยเกริก http://www.krirk.ac.th
4.มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต http://www.kbu.ac.th
5.มหาวิทยาลัยขอนแก่น http://www.kku.ac.th
6.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย http://www.chula.ac.th
7.มหาวิทยาลัยชินวัตร http://www.shinawatra.ac.th
8.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ http://www.cmu.ac.th
9.มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น http://www.stjohn.ac.th
10.มหาวิทยาลัยทักษิณ http://www.tsu.ac.th
11.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี http://www.kmutt.ac.th
12.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ http://www.kmutnb.ac.th
13.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร http://www.mut.ac.th
14.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี http://www.sut.ac.th
15.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ http://www.tu.ac.th
16.มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ http://www.dpu.ac.th
17.มหาวิทยาลัยนเรศวร http://www.nu.ac.th
18.มหาวิทยาลัยบูรพา http://www.buu.ac.th
19.มหาวิทยาลัยพายัพ http://www.payap.ac.th
20.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม http://www.msu.ac.th
21.มหาวิทยาลัยมหิดล http://www.mahidol.ac.th
22.มหาวิทยาลัยแม่โจ้ http://www.mju.ac.th
23.มหาวิทยาลัยรังสิต http://www.rsu.ac.th
24.มหาวิทยาลัยรัชต์ภาคย์ http://www.rajapark.ac.th
25.มหาวิทยาลัยรามคำแหง http://www.ru.ac.th
26.มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งเอเซีย http://www.ait.ac.th
27.มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ http://www.wu.ac.th
28.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ http://www.swu.ac.th
29.มหาวิทยาลัยศรีปทุม http://www.spu.ac.th
30.มหาวิทยาลัยศิลปากร http://www.su.ac.th
31.มหาวิทยาลัยสงขลานคริทร์ http://www.psu.ac.th
32.มหาวิทยาลัยสยาม http://www.siamu.ac.th
33.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช http://www.stou.ac.th
34.มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย http://www.utcc.ac.th
35.มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ http://www.hcu.ac.th
36.มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ http://www.au.edu
37.มหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเซีย http://www.eau.ac.th
38.มหาวิทยาลัยเอเซียอาคเนย์ http://www.sau.ac.th
39.มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี http://www.ubu.ac.th
วันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
~เด็ด!!! อันดับมหาวิทยาลัยยอดนิยมปี 2552 จากเว็บ วิชาการดอทคอม~
1.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. มหาวิทยาลัยมหิดล
3. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
4. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
5. มหาวิทยาลัยศิลปากร
6. มหาวิทยาลัยนเรศวร
7. มหาวิทยาลัยขอนแก่น
8. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
9. มหาวิทยาลัยหัวเฉียว
10.มหาวิยาลัยบูรพา
สู้ ๆ ๆ ตั้งใจเรียนกันนะ ถ้าตั้งใจเรียนแล้ว ที่เรียนดั่งความฝันของเรา ก็จะเป็นจริง ^^
ขยัน ๆ ๆ ไว้นะ
วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
~มิตรภาพ( Friendship )~
วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
~เอาเคล็ดลับ ก่อนสอบ ทำดูไม่เสียหาย~
1.หากระดาษพื้นขาว 6 นิ้ว X 6 นิ้ว มา 1 แผ่น
2.วาด วงกลมขนาดเหรียญ 10 บาทขึ้น 1 วง
3.ตรงกลางวงให้ทําเป็นจุด สีเข้มๆขนาดเท่าหัวไม้ขีดไฟ...
เมื่อพร้อมแล้วปฎิบัติ... (ทําก่อนอ่านหนังสือ 5 นาที)
1.นั่งมองจุดสีเข้มตรงกลาง เริ่มแรกอาจจะคุมสมาธิลําบากหน่อย
2.ถ้าฟุ้งซ่าน พยายามดึงกลับมาขอให้อยู่ในวงกลม วงใหญ่
3.เมื่อเริ่มมีสมาธินิ่งขึ้น ให้ดึงสมาธิให้อยู่ในจุดสีเข้มจุดเดียว..
4.พยายามทําความคิดให้วิ่งอยู่ในวงกลม อย่าให้เล็ดลอดออกไปวงกลม...ถ้าความคิดออกนอกวงกลม...ก็ดึงเข้ามาใหม่
5.เมื่อนิ่งแล้วให้เพ่งที่จุดกลางเพียงจุดเดียว.
นี่คือการฝึกสมาธิให้อยู่เพียงจุดๆเดียว....เช่นการอ่านหนังสือ.. ถ้าเรามีสมาธิในการอ่านหนังสือ....เราสามารถอ่านแค่เที่ยวเดียว ก็จะจําได้.
พยายามลองฝึกดูทุกวันก่อนอ่านหนังสือ...วันละ 5 นาที.จะได้ผลมากเลย น๊ะจ๊ะ.
...................เอาเคล็ดลับ ก่อนสอบ ทำดูไม่เสียหาย 2
เวลาสอบอย่าใช้ปากกาสีดำนะ เพราะว่ามันคือสีแห่งความมืดมนสำหรับการสอบ วิธีแก้คือใช้ปากกาน้ำเงินซะนะ
ก้าวแรกที่ก้าวเข้าห้องต้องเป็นเท้าซ้ายถึงจะดี แต่ต้องเข้าทางประตูหน้านะ พอเข้าไปแล้วก็หันหน้าไปทางโต๊ะคนคุมสอบ แล้วท่องว่า”เราทำได้” ประมาณ 3 ครั้งนะ
ก่อนถึงวันสอบให้ไปนั่งขัดรองเท้านักเรียน ขัดๆ ถูๆ ไปประมาณ 3 นาที แล้วทางที่ดี อย่าเอาไปใส่จนถึงวันสอบ แล้วจะมีสมาธินะ
เอาหนังสือในวิชาที่ไม่ชัวร์สอดไว้ใต้หมอน แต่ได้แค่เล่มเดียวนะ
หน้าไหนอ่านแล้วไม่เข้าใจ ให้ปริ้นรูปดาราคนโปรดมาเป็นที่ขั้นหนังสือ วางไว้แป้ปๆ ก็หยิบมาอ่าน แล้วก็จะจำได้
สุดท้ายก็คือทบทวนบทเรียน ใครทำได้ถือว่าผ่านแน่ๆ แต่ถ้าอยากได้เคล็ดไม่ลับก็จะบอก คือเวลาเราอ่านสอบ ให้จดสาระสำคัญไว้ แล้วพอก่อนสอบก็เอาที่จดไว้นั่นแหละมาอ่าน
ใกล้จะสอบแล้ว ก็ลองเอาเคล็ดลับพวกนี้ไปใช้น้า
วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2552
~10 วิธีที่จะช่วยให้คุณทำข้อสอบได้ดีขึ้น ~
Don't cram วิธีนี้ไม่ได้ผลหรอกการเร่งดูหนังสือในเวลาอันสั้นๆจะทำให้คุณเหนื่อยเปล่าคุณควรเตรียมตัวอ่านและทบทวนหลายๆสัปดาห์ก่อนที่จะสอบ
Practice ถ้าหากคุณเรียนเฉพาะส่วนที่เป็นข้อเท็จจริงคุณก็จะลืมมันได้อย่างรวดเร็ว คุณจำเป็นต้องมีการฝึกฝนเช่นในวิชาภาษาอังกฤษ คุณจะต้องเอาคำศัพท์ใหม่ที่เรียนมานั้นแต่งประโยคและพูดออกมาดังๆ สำหรับวิชาวิทยาศาสตร์คุณจำเป็นจะต้องทำหลาย ๆ แบบฝึกหัดเท่าที่คุณจะทำได้ การฝึกจะทำให้คุณเข้าใจข้อเท็จจริงดีขึ้น
Read with your eyes closed อันดับแรกคุณก็อ่านจากสมุดจดและหนังสือเรียนด้วยความระมัดระวัง จากนั้นให้ปิดหนังสือและให้หากระดาษมาหนึ่งแผ่น และเขียนหัวข้อสำคัญๆที่อ่านมาแล้ว ซึ่งจะช่วยทำให้คุณเข้าใจว่าคุณจำเป็นจะอ่านทบทวนส่วนไหนเพิ่มเติม
Get the big picture ทำเป็นโน๊ตย่อหัวข้อที่สำคัญๆโดยดึงเนื้อหาจากสมุดจดหรือจากหนังสือเรียน แบบฝึกหัดหรือสิ่งอื่น ๆ ที่ได้จากห้องเรียน เรียบเรียงลำดับเนื้อหาใหม่ซึ่งจะทำให้คุณเห็นความสัมพันธ์ของเนื้อหาและยังทำให้คุณจดจำเนื้อหาได้เป็นเวลานานอีกด้วย
Talk ให้ถามรุ่นพี่ที่เรียนมาแล้วเกี่ยวกับคำถามหรือเกี่ยวกับแนวข้อสอบเก่าๆว่าเป็นอย่างไรแล้วคุณจะได้เตรียมถูก หรือพร้อมมากยิ่งขึ้น
Get help ยามใดที่คุณไม่เข้าใจอะไรสักอย่างขอให้ถามอาจารย์ซึ่งท่านจะเป็นผู้ที่ช่วยเหลือคุณได้อย่างดีหรืออาจจะเป็นเพื่อน หรือใครก็ได้ที่เข้าใจวิชานั้นเป็นอย่างดีไม่ต้องรอกระทั่งจะถึงวันสอบพรุ่งนี้แล้วค่อยถาม มันอาจจะเป็นว่าสายเกินไปแล้ว!!!
Triage Principle ถ้าหากคุณเห็นว่าเวลาเรียนไม่พอแล้ว คุณควรจะทำอย่างไรดี ? ควรจะอ่านในส่วนที่คุณเข้าใจเพียงน้อยนิดหรือควรที่จะอ่านในส่วนที่คุณพอมีความรู้บ้างคุณควรจะอ่านในส่วนที่คุณพอมีความรู้อยู่บ้างซึ่งจะทำให้คุณรู้มากยิ่ง ๆ ขึ้น เป็นการดีที่รู้ในบางส่วนที่รู้อยู่แล้วให้รู้มาก ๆ ยิ่งขึ้นดีกว่าการรู้เพียงครึ่ง ๆ กลาง ๆ
Focus on objectives ให้กลับไปอ่านจุดประสงค์การเรียนอีกรอบ จากนั้นให้ทดสอบรายจุดประสงค์แบบ Pre-test ว่าคุณทำผ่านเกณฑ์ไหม ถ้าจุดประสงค์ไหนทำไม่ได้หรือได้คะแนนน้อย ให้กลับไปเรียนใหม่ตามจุดประสงค์ที่คุณยังไม่รู้เรื่องดีพอ
Manage time คุณจะต้องดูหนังสืออย่างน้อย 1-2 ชั่วโมงต่อวันในวิชาที่ยากๆอย่างเช่นวิชาเคมี คุณจะต้องจัดตารางเรียนขึ้นมา และจะต้องอ่านตามตารางที่จัดไว้ ให้จัดระบบการอ่านหนังสือกับเพื่อนและจะต้องอ่านตามตารางที่จัดไว้ ซึ่งวิธีนี้จะเป็นบังคับคุณไปในตัวไม่ให้ขี้เกียจ
Relax พยายามพักผ่อนหรือทำตัวสบายๆอย่าดูหนังสือกับเพื่อนที่ทนงตน หลงตัวเองคิดว่าตัวเองเก่งแล้วไม่ต้องอ่านก็สอบได้ เด็ดขาด คืนก่อนสอบให้เตรียมหนังสือ ปากกาและจัดกระเป๋าให้เรียบร้อยและเขัานอนแต่หัวคํ่า ถ้าหากคุณยังดูหนังสือดึกจะทำให้คุณเหนื่อยและยิ่งทำให้คุณเครียดมากขึ้นเมื่อเข้าสอบจะยิ่งทำให้คุณเบลอไปเลยแหละ!!(นะจะบอกให้)
วันจันทร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2552
~ความหมายของเพื่อน... คือ~
--------------------------------------------------------------------------------
ความหมายของเพื่อน... คือ
คอยเตือน ยาม"เพื่อน"พลั้ง
คอยฟัง ยาม"เพื่อน"ขอ
คอยรอ ยาม"เพื่อน"สาย
คอยพาย ยาม"เพื่อน"พัก
คอยทัก ยาม"เพื่อน"ทุกข์
คอยปลุก ยาม"เพื่อน"ท้อ
คอยง้อ ยาม"เพื่อน"งอน
คอยสอน ยาม"เพื่อน"ผิด
คอยสะกิด ยาม"เพื่อน"เผลอ
คอยเจอ ยาม"เพื่อน"หา
คอยลา ยาม"เพื่อน"กลับ
คอยปรับ ยาม"เพื่อน"เปลี่ยน
คอยเรียน ยาม"เพื่อน"เที่ยว
คอยเคี่ยว ยาม"เพื่อน"เล่น
คอยเย็น ยาม"เพื่อน"ร้อน
คอยหอน ยาม"เพื่อน"เห่า
คอยเฝ้า ยาม"เพื่อน"ฟุบ
คอยอุบ ยาม"เพื่อน"ปิด
คอยคิด ยาม"เพื่อน"ถาม
คอยปราม ยาม"เพื่อน"หลง
คอยปลง ยาม"เพื่อน"แกล้ง
คอยแบ่ง ยาม"เพื่อน"หมด
คอยอด ยาม"เพื่อน"ทาน
คอยคาน ยาม"เพื่อน"ล้ม
คอยชม ยาม"เพื่อน"ชนะ
คอยสละ ยาม"เพื่อน"ชอบ
แล้ว "เพื่อน" ในความหมายของคุณล่ะ....เป็นแบบนี้มั๊ย
อย่าลืมให้ความสำคัญกับคนที่คุณเรียกว่า "เพื่อน" นะ
โดยเฉพาะถ้าเค้าคือเพื่อนจริงๆ...
เธอทุกข์ - ฉันทุกข์ เธอสุข – ฉัน
----------------------------------------------------------------DM !
รั๊ก DM เสมอ ตั้งใจเรียนกัลนะ ปีสุดท้ายแร่ว
ชีวิตมัธยมคงจบลง พร้อมๆกับมิตรภาพที่ดีๆของ DM ทุกๆคน
รั๊กพวกเอ็งเสมอ จุฟๆจ๊วฟๆ มัวะ ^^~