วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2552

~10 วิธีที่จะช่วยให้คุณทำข้อสอบได้ดีขึ้น ~


Don't cram วิธีนี้ไม่ได้ผลหรอกการเร่งดูหนังสือในเวลาอันสั้นๆจะทำให้คุณเหนื่อยเปล่าคุณควรเตรียมตัวอ่านและทบทวนหลายๆสัปดาห์ก่อนที่จะสอบ

Practice ถ้าหากคุณเรียนเฉพาะส่วนที่เป็นข้อเท็จจริงคุณก็จะลืมมันได้อย่างรวดเร็ว คุณจำเป็นต้องมีการฝึกฝนเช่นในวิชาภาษาอังกฤษ คุณจะต้องเอาคำศัพท์ใหม่ที่เรียนมานั้นแต่งประโยคและพูดออกมาดังๆ สำหรับวิชาวิทยาศาสตร์คุณจำเป็นจะต้องทำหลาย ๆ แบบฝึกหัดเท่าที่คุณจะทำได้ การฝึกจะทำให้คุณเข้าใจข้อเท็จจริงดีขึ้น

Read with your eyes closed อันดับแรกคุณก็อ่านจากสมุดจดและหนังสือเรียนด้วยความระมัดระวัง จากนั้นให้ปิดหนังสือและให้หากระดาษมาหนึ่งแผ่น และเขียนหัวข้อสำคัญๆที่อ่านมาแล้ว ซึ่งจะช่วยทำให้คุณเข้าใจว่าคุณจำเป็นจะอ่านทบทวนส่วนไหนเพิ่มเติม

Get the big picture ทำเป็นโน๊ตย่อหัวข้อที่สำคัญๆโดยดึงเนื้อหาจากสมุดจดหรือจากหนังสือเรียน แบบฝึกหัดหรือสิ่งอื่น ๆ ที่ได้จากห้องเรียน เรียบเรียงลำดับเนื้อหาใหม่ซึ่งจะทำให้คุณเห็นความสัมพันธ์ของเนื้อหาและยังทำให้คุณจดจำเนื้อหาได้เป็นเวลานานอีกด้วย

Talk ให้ถามรุ่นพี่ที่เรียนมาแล้วเกี่ยวกับคำถามหรือเกี่ยวกับแนวข้อสอบเก่าๆว่าเป็นอย่างไรแล้วคุณจะได้เตรียมถูก หรือพร้อมมากยิ่งขึ้น

Get help ยามใดที่คุณไม่เข้าใจอะไรสักอย่างขอให้ถามอาจารย์ซึ่งท่านจะเป็นผู้ที่ช่วยเหลือคุณได้อย่างดีหรืออาจจะเป็นเพื่อน หรือใครก็ได้ที่เข้าใจวิชานั้นเป็นอย่างดีไม่ต้องรอกระทั่งจะถึงวันสอบพรุ่งนี้แล้วค่อยถาม มันอาจจะเป็นว่าสายเกินไปแล้ว!!!

Triage Principle ถ้าหากคุณเห็นว่าเวลาเรียนไม่พอแล้ว คุณควรจะทำอย่างไรดี ? ควรจะอ่านในส่วนที่คุณเข้าใจเพียงน้อยนิดหรือควรที่จะอ่านในส่วนที่คุณพอมีความรู้บ้างคุณควรจะอ่านในส่วนที่คุณพอมีความรู้อยู่บ้างซึ่งจะทำให้คุณรู้มากยิ่ง ๆ ขึ้น เป็นการดีที่รู้ในบางส่วนที่รู้อยู่แล้วให้รู้มาก ๆ ยิ่งขึ้นดีกว่าการรู้เพียงครึ่ง ๆ กลาง ๆ

Focus on objectives ให้กลับไปอ่านจุดประสงค์การเรียนอีกรอบ จากนั้นให้ทดสอบรายจุดประสงค์แบบ Pre-test ว่าคุณทำผ่านเกณฑ์ไหม ถ้าจุดประสงค์ไหนทำไม่ได้หรือได้คะแนนน้อย ให้กลับไปเรียนใหม่ตามจุดประสงค์ที่คุณยังไม่รู้เรื่องดีพอ

Manage time คุณจะต้องดูหนังสืออย่างน้อย 1-2 ชั่วโมงต่อวันในวิชาที่ยากๆอย่างเช่นวิชาเคมี คุณจะต้องจัดตารางเรียนขึ้นมา และจะต้องอ่านตามตารางที่จัดไว้ ให้จัดระบบการอ่านหนังสือกับเพื่อนและจะต้องอ่านตามตารางที่จัดไว้ ซึ่งวิธีนี้จะเป็นบังคับคุณไปในตัวไม่ให้ขี้เกียจ

Relax พยายามพักผ่อนหรือทำตัวสบายๆอย่าดูหนังสือกับเพื่อนที่ทนงตน หลงตัวเองคิดว่าตัวเองเก่งแล้วไม่ต้องอ่านก็สอบได้ เด็ดขาด คืนก่อนสอบให้เตรียมหนังสือ ปากกาและจัดกระเป๋าให้เรียบร้อยและเขัานอนแต่หัวคํ่า ถ้าหากคุณยังดูหนังสือดึกจะทำให้คุณเหนื่อยและยิ่งทำให้คุณเครียดมากขึ้นเมื่อเข้าสอบจะยิ่งทำให้คุณเบลอไปเลยแหละ!!(นะจะบอกให้)

วันจันทร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2552

~ความหมายของเพื่อน... คือ~

หลายๆ อย่างที่อยากให้คุณรู้

--------------------------------------------------------------------------------

ความหมายของเพื่อน... คือ

คอยเตือน ยาม"เพื่อน"พลั้ง
คอยฟัง ยาม"เพื่อน"ขอ
คอยรอ ยาม"เพื่อน"สาย
คอยพาย ยาม"เพื่อน"พัก
คอยทัก ยาม"เพื่อน"ทุกข์
คอยปลุก ยาม"เพื่อน"ท้อ
คอยง้อ ยาม"เพื่อน"งอน
คอยสอน ยาม"เพื่อน"ผิด
คอยสะกิด ยาม"เพื่อน"เผลอ
คอยเจอ ยาม"เพื่อน"หา
คอยลา ยาม"เพื่อน"กลับ
คอยปรับ ยาม"เพื่อน"เปลี่ยน
คอยเรียน ยาม"เพื่อน"เที่ยว
คอยเคี่ยว ยาม"เพื่อน"เล่น
คอยเย็น ยาม"เพื่อน"ร้อน
คอยหอน ยาม"เพื่อน"เห่า
คอยเฝ้า ยาม"เพื่อน"ฟุบ
คอยอุบ ยาม"เพื่อน"ปิด
คอยคิด ยาม"เพื่อน"ถาม
คอยปราม ยาม"เพื่อน"หลง
คอยปลง ยาม"เพื่อน"แกล้ง
คอยแบ่ง ยาม"เพื่อน"หมด
คอยอด ยาม"เพื่อน"ทาน
คอยคาน ยาม"เพื่อน"ล้ม
คอยชม ยาม"เพื่อน"ชนะ
คอยสละ ยาม"เพื่อน"ชอบ

แล้ว "เพื่อน" ในความหมายของคุณล่ะ....เป็นแบบนี้มั๊ย

อย่าลืมให้ความสำคัญกับคนที่คุณเรียกว่า "เพื่อน" นะ

โดยเฉพาะถ้าเค้าคือเพื่อนจริงๆ...

เธอทุกข์ - ฉันทุกข์ เธอสุข – ฉัน


----------------------------------------------------------------DM !


รั๊ก DM เสมอ ตั้งใจเรียนกัลนะ ปีสุดท้ายแร่ว

ชีวิตมัธยมคงจบลง พร้อมๆกับมิตรภาพที่ดีๆของ DM ทุกๆคน

รั๊กพวกเอ็งเสมอ จุฟๆจ๊วฟๆ มัวะ ^^~

วันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2552

~ฝึกการอ่านหนังสือ อย่างมีประสิทธิภาพ~

การอ่านหนังสือไม่ใช่เพียงแค่อ่านข้อความตามตัวหนังสือที่มีไว้ในหนังสือให้จบเล่มเท่านั้น แต่การอ่านนั้นมีจุดประสงค์สำคัญคือการรับรู้ความหมาย และทำความเข้าใจกับข้อความที่เขียนเป็นตัวหนังสือ
การจะอ่านหนังสือให้มีประสิทธิภาพ นักศึกษาต้องรู้ว่าก่อนว่า อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้อ่านหนังสือได้ขาดประสิทธิภาพ และ พยายามแก้ไขตามสาเหตุเหล่านั้น
สาเหตุที่ทำให้การอ่านหนังสือขาดประสิทธิภาพ มีดังนี้
1.การอ่านทีละคำ
2.การอ่านออกเสียง
3.ปัญหาเกี่ยวกับศัพท์เฉพาะ
4.การใช้วิธีเดียวกันตลอดในการอ่านทุกประเภท
5.การใช้นิ้วชี้ข้อความตามไปด้วยในขณะอ่าน
6.การอ่านซ้ำไปซ้ำมา
7.การขาดสมาธิในการอ่าน
ข้อเสนอแนะที่ช่วยให้นักศึกษาอ่านอย่างมีประสิทธิภาพ
1.ไม่อ่านทีละคำ
การอ่านทีละคำทำให้อ่านหนังสือได้ช้า เพราะมุ่งหาความหมายของคำทีละคำ สามารถแก้ไขได้โดยตั้งใจไว้ว่า เมื่ออ่านหนังสือทุกครั้ง จะจับใจความสำคัญของประโยคด้วยการใช้สายตาเพียงครั้งเดียว และได้ความหมายทันที
2.ไม่อ่านออกเสียง
การอ่านหนังสือออกเสียงไปทีละตัว โดยทั่วไปติดมาจากนิสัยการอ่านสมัยชั้นประถม การอ่านออกเสียงไม่ว่าจะมีเสียงออกมาหรือมีเสียงในคอ การอ่านแบบนี้อ่านได้ช้าทั้งสิ้นเพราะมุ่งแต่ออกเสียงตามตัวหนังสือที่ปรากฎ การอ่านได้เร็วสามารถแก้ไขได้โดยพยายามทำให้การมอง เห็นรูปทรง และการประสมคำของตัวหนังสือ สามารถผ่านขั้นตอนการรับรู้ของเราไปสู่สมองได้เลย โดยไม่ต้องเสียเวลาพินิจพิเคราะห์ว่า มันมีเสียงอะไรการแก้ไขให้ใช้นิ้วปิดปากในขณะอ่านตลอดเวลาจะทำให้อ่านได้ดีขึ้น และเมื่อปฏิบัติเช่นนี้จนติดเป็นนิสัยแล้ว จะพบว่าทำให้อ่านได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
3.ไม่มีกังวลเกี่ยวกับศัพท์เฉพาะ
การหยุดและกังวลเกี่ยวกับคำศัพท์ที่ไม่เคยเห็นมาก่อนจะทำให้จังหวะในการอ่านและแนวคิดในการอ่านประโยคนั้นหายไป ดังนั้นแม้ว่าจะไม่รู้ศัพท์บางคำก็สามารถหาความหมายของศัพท์นั้นได้ โดยดูจากข้อความในประโยค ถ้าใช้ความคิดคิดตามตลอดเรื่อง
4.ไม่ใช้วิธีเดียวกันตลอดในการอ่านทุกประเภท
นักศึกษาควรใช้วิธีการอ่านที่แตกต่างกันในแต่ละเรื่องที่อ่าน เช่น อ่านเรื่องเบาสมองก็อ่านเร็วได้ ถ้าอ่านตำราวิชาการต้องใช้ความคิดพิจารณาเนื้อเรื่องก็ใช้เวลาอ่านนานขึ้นนั้นคือผู้อ่านต้องรู้จุดประสงค์ของเรื่องที่จะอ่านด้วย จึงจะได้ประโยชน์ที่แท้จริง
5.ไม่ใช้นิ้วชี้ข้อความตามไปด้วยในขณะอ่าน
จะทำให้อ่านได้ช้าลง การใช้สายตากวาดไปตามบรรทัดจะเร็วกว่าการใช้นิ้วชี้เพราะสายตาเคลื่อนที่เร็วกว่านิ้ว วิธีแก้นิสัยนี้อาจทำได้โดยใช้มือจับหนังสือหรือประสานมือกันไว้ในขณะอ่านหนังสือ
6.ไม่อ่านซ้ำไปซ้ำมา
การอ่านเนื้อเรื่องที่ไม่เข้าใจ เป็นการชี้ให้เห็นว่านักศึกษาไม่มั่นใจที่จะดึงเอาความสำคัญของเนื้อความนั้นออกมาได้ด้วยความสามารถของตนเอง เหตุนี้จึงทำให้อ่านช้าลงเพราะคอยคิดแต่จะกลับไปอ่านใหม่ แทนที่จะอ่านไปทั้งหน้าเพื่อหาแนวคิดใหม่ จงพยายามอ่านครั้งเดียวอย่างตั้งใจความคิดทั้งหลายจะค่อย ๆ มาเอง ไม่ต้องกังวลว่าตนเองอ่านไม่รู้เรื่อง
7.มีสมาธิในการอ่าน
การปล่อยให้ความตั้งใจและความคงที่ของอารมณ์ล่องลอยไปกับความคิดที่สอดแทรกเข้ามาขณะอ่าน จะทำให้ไม่ได้รับความรู้อะไรจากการอ่านเลย นักศึกษาจะต้องพัฒนาความสามารถ โดยฝึกจิตให้แน่วแน่มุ่งความสนใจอยู่ที่หนังสือเพียงอย่างเดียว
ความสามารถในการอ่านสามารถพัฒนาได้โดยการฝึกฝน ทำตาม ข้อเสนอแนะในการอ่านข้างต้น ถ้านักศึกษาพยายามฝึกฝนการอ่านให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น อ่านให้ได้เร็วขึ้น ต่อไปนักศึกษาก็จะเป็นผู้ที่มีประสิทธิภาพในการเรียนและประสบผลสำเร็จในการศึกษา