วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

~[howto]7วิธีดูสอบอย่างไรไม่ให้ตก~

1.รีบตั้งสติ เรื่องนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดเลยค่ะ ถ้าตั้งสติไม่ได้ก็ทำอะไรต่อไม่ได้แล้วค่ะ อาจเป็นเพราะที่รอบนี้เราไม่ตั้งใจเรียนเลยทำให้รู้สึกว่าเรามีความรู้ไม่เท่าคนอื่น ให้รีบตั้งสติ คิดซะว่าต้องทำอะไรเป็นอันดับแรก วางแผนเอาไว้เลย(ยิ่งเราด้อยกว่าคนอื่นตอนนี้เราต้องทำให้ยิ่งกว่าคนอื่นค่ะ) เราเห็นเพื่อนที่ไม่ตั้งใจเรียนเหมือนเรามานั่งตีโพยตีพายบ่นว่าเครียด ดูหนังสือสอบไม่รู้เรื่องบ้าง อ่านไม่ทันบ้าง เราว่าเอาเวลาที่คุณบ่นรีบไปอ่านหนังสือจะดีกว่า เพราะยิ่งไม่ตั้งใจเรียนเท่าไหร่ก็หมายความว่าคุณต้องดูหนังสือหนักกว่าคนอื่นเป็นเท่าตัว แล้วในเวลาจำกัดที่เท่ากันแต่เนื้อหาที่รู้ตอนนี้ไม่เท่ากัน ยิ่งต้องรีบอ่านเพื่อให้ทันกับคนที่เค้าเข้าใจแล้วเข้าไปอีก (เอาเวลาบ่นมารีบอ่านหนังสือดีกว่านะเพราะยิ่งบ่นยิ่งเสียเวลาในการอ่านเข้าไปอีก!!!)

2.มองโลกในแง่ดี ข้อนี้เหมือนจะไม่เกี่ยวเท่าไหร่แต่เราว่ามันเกี่ยวจริงๆค่ะ เราเจอพวกที่ชอบคิดว่า "ดูไปก็ตกอยู่ดี" ไม่ก็ "ไม่อ่านหรอกตกเดี๋ยวซ่อมเอาได้"
.
.
.
มัวแต่คิดอย่างนี้แล้วเมื่อไหร่คุณจะก้าวหน้า!!
ไม่คิดจะพยายามตั้งแต่ยังไม่เริ่มเลย ยังไม่เห็นข้อสอบแต่คุณก็บอกว่าตกแล้ว มัวแต่คิดแบบนี้แล้วเมื่อไหร่คุณจะพยายาม เมื่อไหร่คุณจะเริ่ม คะแนนดีๆไม่ไกลเกินฝันหรอกถ้าคุณตั้งใจอะ(ถึงไม่ตั้งใจตอนเรียนแต่ไม่ตกตอนสอบแล้วกัน) บอกเลยว่าจะสอบต้องยิ่งมองโลกในแง่ดีให้มีกำลังใจ "เราต้องทำได้" หรือ "คนอื่นทำได้ทำไมเราจะไม่ได้" ให้กำลังใจตนเองแล้วจะดูหนังสืออย่างตั้งใจได้ไอความคิดแบบข้างบนทิ้งไปได้เลยค่ะ
ตอนนี้เรายึดคตินี้ว่า "ขยันตอนท้ายยังดีกว่าไม่ทำอะไรเลย!"(อย่างน้อยได้สักคะแนนยังดีกว่าไม่ได้อะไรเลยจริงๆ)
ความจริงเคยมีคนแนะนำวิธีให้กำลังใจตนเองโดยเอากระดาษมาเขียนว่าสู้ๆไว้แล้วแปะไว้ข้างๆโต๊ะอ่านหนังสือแล้วจะมีกำลังใจ(แต่เราทำดูแล้วไม่ได้ผลแฮะวิธีนี้)

3.ความพร้อมของเนื้อหา เราเป็นพวกไม่ชอบจดเลกเชอร์ค่ะ(ขอสารภาพเลย)ตอนสอบก็จะยืมเพื่อนเอา(คนดี?) พูดตรงๆเลยค่ะว่าเพราะไม่จดและไม่ขยันในชั่วโมงแต่เพราะไม่อยากตกเลยต้องมาขยันตอนสอบเอา(เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีต่อรุ่นน้องจริงๆ(ฮา)) และก็เพราะตัวเองไม่มีเนื้อหาเลย ถึงต้องเตรียมตัวหาข้อมูลมาให้มากที่สุดเพราะไม่งั้นจะสู้เพื่อนไม่ได้เลย(นี่คือข้อเสียของการไม่ตั้งใจเรียนจริงๆเพราะจะหนักกว่าคนอื่นมากๆ=[]='')
ไปๆมาๆเลยได้ข้อคิดมาใหม่คือ "ถ้าคิดจะไม่ตั้งใจเรียน ก็ต้องไม่สอบตก!!"

4.การอ่านท่องจำกับการอ่านให้เข้าใจ เราเป็นพวกสมองปลาทองค่ะ ให้ท่องจำอะไรจำไม่ได้เลย จำได้เดี๋ยวเดียวก็ลืม แล้วยิ่งรอบนี้ไม่ตั้งใจเรียนด้วยแล้วยิ่งต้องมานั่งทำความเข้าใจบทเรียนเองอีก(แต่จะว่าใครไม่ได้จริงๆก็เพราะทำตัวเอง) เราอ่านหนังสือสอบจะนานมากๆเลยค่ะเพราะต้องนั่งทำความเข้าใจทุกบรรทัด นั่งคิดเชื่อมโยงกันไปเพื่อทำความเข้าใจเนื้อหาทั้งหมด แต่มันก็มีข้อดีจริงๆค่ะที่ทำให้เราเข้าใจเรื่องที่จะสอบ(ถึงจะอ่านนานก็เถอะ) ถ้าเข้าใจเวลาเจอข้อสอบจะบรรยายได้ง่ายกว่าท่องจำหรืออธิบายตามที่เราเข้าใจจริงๆ แต่ความจริงมันก็ต้องท่องจำด้วยส่วนนึง(เช่นชื่อต่างๆ)เราก็จะหาคำทำให้มันตลกๆไว้ค่ะ(จำได้จริงๆOWO(ฮา))

5.โน้ตย่อ เมื่อก่อนเรายังไม่เข้าใจเลยค่ะว่าเค้าย่อกันยังไงพึ่งมาเข้าใจก็ไม่นานมนี้เอง=U=''(แต่มันก็ช่วยได้จริงๆค่ะโดยเฉพาะกับเวลาที่ต้องดูสอบหนัก) ความจริงจดอย่างเดียวมันจะน่าเบื่อมากๆเลยค่ะ เพราะยังงั้นโน้ตย่อของเราเลยมีภาพประกอบเต็มไปหมดเลย(ฮา)
แต่เชื่อมั้ยคะ? มีคนมาขอยืมโน้ตย่อเราไปซีร็อกซ์เพราะชอบการ์ตูนที่วาด OWO 55

6.ไม่เครียด สอบอย่าไปเครียดค่ะ ยิ่งเครียดจะยิ่งฟุ้งซ่านสุดท้ายจะรู้สึกหมดกำลังใจและจะไม่อยากอ่านหนังสือ มีคนถามว่านอกจากไม่ตั้งใจแล้วทำไมถึงไม่เครียดเลยหละ ไม่กลัวคะแนนเหรอ? ..กลัวสิ กลัวมากเลยด้วยแล้วไม่ใช่ว่าเราไม่เครียดแต่เราเครียดแบบพอให้แค่เป็นแรงกระตุ้นในการเรียนก็พอ ควบคุมความเครียดอย่าให้มันเกินเลย อย่าให้เครียดมากไปจะมีแต่ผลเสียเอาแต่พอดีก็พอจริงๆค่ะ(ถ้าไม่เครียดเลยมันจะไร้แรงกระตุ้นจริงๆค่ะ ก็คงจะปล่อยๆไปจนไม่มีกำลังใจอ่านหนังสือเช่นกัน(เหมือนทางสายกลางเลย(ฮา)))

7.คำอวยพร มันเกี่ยวกับคำอวยพรยังไง? เราว่าเกี่ยวค่ะยิ่งคุณปรารถนาจะให้คนอื่นได้ดีเท่าไหร่ผลกรรมนี้ก็จะสะท้อนเข้าตัวคุณค่ะ แล้วการไปอวยพรให้คนอื่นๆคนเค้าก็จะมองคุณดีด้วยเช่นกัน (ข้อนี้ความเชื่อส่วนบุคคลค่ะ)




หมดแล้วค่ะจากการสอบครั้งนี้ทำให้เราได้อะไรหลายๆอย่างจริงๆเพราะปีนี้ไม่เหมือนปีที่แล้วจะเรียนแบบนี้ต่อไปไม่ได้(ไม่งั้นจะมาหนักเหมือนรอบนี้)ถือซะว่าสอบรอบนี้คือการวอร์มให้หายจากสภาพชินกับปิดเทอมละกันค่ะ ถึงแม้จะเป็นสอบกลางภาคแต่ก็สำคัญไม่แพ้ปลายภาค
ปล.เดี๋ยวจะหมดเวลาพักแล้วเดี๋ยวไปอ่านหนังสือต่อก่อนละกันค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

~ระเบียบการ 53 จ้า~

รศ.ดร.มณฑล สงวนเสริมศรี ประธานคณะทำงานศึกษาแอดมิชชั่นปี 2553 ของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย หรือ ทปอ.เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้ข้อยุติปฏิทินการคัดเลือกระบบแอดมิชชั่นปี 2553 แล้ว โดยจะมีกหนดการดังนี้

>>>ประกาศระเบียบการคัดเลือก ในวันที่ 7-20 เม.ย. 2553 ทางเว็บไซต์ สกอ.

>>>จำหน่ายระเบียบการวันที่ 7-20 เม.ย. 2553 ที่ศูนย์สอบกรุงเทพฯและส่วนภูมิภาค

>>>รับสมัครทางเว็บไซต์ของ สกอ. วันที่ 11-20 เม.ย. 2553

>>>ชำระเงินค่าสมัครวันที่ 11-22 เม.ย. 2553

>>>ประกาศผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ ทางเว็บไซต์ของ สกอ. วันที่ 9 พ.ค. 2553

รศ.ดร.มณฑล กล่าวอีกว่า สำหรับสัดส่วนค่าน้ำหนักองค์ประกอบการแอดมิชชั่นปี 53 นั้นยืนยันชัดเจนไปแล้วจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง ส่วนกรณีที่บางมหาวิทยาลัยไม่พอใจค่าน้ำหนักองค์ประกอบที่ ทปอ.กำหนด และจะไปรับตรงเองนั้น ก็อยากให้ใช้คะแนน GAT และ PAT เป็นองค์ประกอบด้วย

เอาหละ.. ตอนนี้ตารางการสอบ GAT PAT ครั้งที่ 2 และ 3 รวมถึงระเบียบการแอดมิชชั่นก็ออกมากันแล้ว.. น้องๆ ก็ตีตารางวางแผนชีวิตกันได้เลย สู้ๆๆ

วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

~เทคนิคการเลือกคณะและจัดอันดับอย่างมีประสิทธิภาพ~

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่สอบ Entrance ได้ส่วนใหญ่เกิดจากการเตรียมตัวดี คือ เตรียมความพร้อมในการสอบได้ดี การเตรียมตัว ที่ดีมิใช่การอ่านหนังสือมากเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่หมายถึงการรู้รอบ ได้แก่ การรู้ทุกเรื่องหรือ รู้เรื่องเกี่ยวกับการสอบ Entrance ให้มากที่สุดทุกแง่ทุกมุมแล้วศึกษาตนเองว่าเหมาะสมกับ แง่มุมใดแล้วเตรียมตัวในทิศทางนั้น บางคนเรียนได้คะแนนดี แต่สอบ Entrance ไม่ได้ บางคน เรียนได้คะแนนไม่ดี แต่สอบ Entrance ได้ เหตุผลก็คือเด็กเรียนดีมักประมาทตรงกันข้ามกับ เด็กเรียนไม่ดีแต่ขวนขวายที่จะหาเทคนิคและวิธีการในการหาความรู้ใหม่ๆ มาเพิ่มเติมให้ตนเอง อยู่เสมอ ในที่นี้จะนำเสนอเทคนิคการเลือกคณะและจัดอันดับซึ่งเป็นเรื่องสำคัญอย่างหนึ่งในการ เตรียมตัวสอบ Entrance ดังต่อไปนี้

1. การพิจารณาแนวทางชีวิตของตนเอง นัก เรียนต้องคิดไว้แล้วว่า นักเรียนจะต้องประกอบอาชีพใด และควรจะเรียนต่อในสาขา วิชาใด จึงจะตรงกับความถนัด ความสามารถและความสนใจของตนเอง และทดลองเลือกคณะที่ อยู่ในความสนใจของตนเอง

2.การพิจารณาข้อมูลที่จำเป็น เมื่อได้ทดสองเลือกคณะที่พอใจ10คณะแล้วนักเรียนจำเป็นที่จะต้องค้นหาข้อมูลที่ สำคัญของแต่ละคณะในเรื่องต่างๆ

3. เทคนิคการเลือกคณะและจัดอันดับที่มีประสิทธิภาพ การพิจารณาเลือกคณะต้องเลือกอย่างฉลาด คือ ต้องประหยัดเวลา ประหยัดแรงงาน ประหยัดสมอง และประหยัดเงิน (ลงทุนน้อยให้ได้ประโยชน์มากที่สุด) ซึ่งต้องพิจารณาในสิ่งต่างๆ ดังนี้

3.1 ทั้ง 4 คณะต้องสอบกลุ่มวิชาเดียวกัน ไม่ควรสอบหลายกลุ่มวิชา เพราะทำให้ เปลืองเวลา เปลืองเงิน เปลืองสมอง ได้ผลน้อย

3.2 ทั้ง 4 คณะต้องตรงกับคุณสมบัติของนักเรียน ไม่ควรเลือกเผื่อเอาไว้ เพราะหมายถึง การขาดความมั่นใจในตนเอง อันเป็นอุปสรรคสำคัญของการสอบ คือ คิดว่าสอบตกตั้งแต่ยังไม่ได้สอบแล้ว

3.3 ทั้ง 4 คณะนักเรียนต้องชอบจริง ไม่ควรเลือกตามเพื่อน คณะที่เพื่อนชอบ หมายถึง คณะที่เพื่อนอยากได้ คณะที่นักเรียนชอบ คือ คณะที่นักเรียนอยากได้ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน

3.4 ทั้ง 4 คณะที่นักเรียนเลือก คะแนนนักเรียนต้องถึงเกณฑ์ตามคุณสมบัติของแต่ละคณะที่เขาตั้งไว้ คือ นักเรียนต้องผ่านเกณฑ์ก่อน เมื่อผ่านเกณฑ์ก็มิได้หมายความว่า นักเรียน สอบได้ เพียงแต่ได้สิทธิ์สมัครเข้าคัดเลือกเท่านั้น ซึ่งจะต้องมีการพิจารณาตัดสินกันอีกครั้งจากคะแนนสูงสุดของผู้สมัคร

3.5 ทั้ง 4 คณะที่นักเรียนเลือกต้องมั่นใจว่าเรียนได้ จบได้ตามเวลาที่กำหนด ไม่ควรฝัน จะเลือกคณะที่มีคะแนนสูง เพราะความโก้เก๋ หรือเลือกเพราะไม่รู้ว่าจะเลือกคณะอะไรดี ซึ่งอาจสอบไม่ได้หรือสอบได้ แล้วสละสิทธิ์ไม่เรียน เป็นต้น

3.6 ที่สำคัญที่สุด คือ เลือกคณะที่นักเรียนมั่นใจว่าสอบได้ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ข้อมูลทางสถิติอ้างอิงว่านักเรียนจะสอบได้ ถ้าหากไม่มั่นใจไม่ควรเลือก

4. เลือกอย่างไรจึงจะสอบไดนักเรียนที่ได้คะแนนดี แต่สอบไม่ได้เพราะเลือกไม่เป็นนั้นมีเป็นจำนวนมาก จึงขอให้ใส่ใจ กับวิธีการ ในข้อนี้ให้มากจากข้อมูลที่รวบรวมมาจากข้อ 1 ถึงข้อ 3 นั้นให้นำมาใช้ ดังต่อไปนี้

  • ขั้นที่ 1 ทดลองเลือกคณะที่นักเรียนชอบมา 10 คณะ ซึ่งอาจจะเปลี่ยนแปลง หรือปรับ มาจากข้อที่ 1
  • ขั้นที่ 2 ใส่คะแนนสูงต่ำ โดยหาค่าเฉลี่ยของคะแนนสูงต่ำของคณะที่นักเรียนเลือกทั้ง 10 คณะ คะแนนสูงต่ำที่ใช้ควรใช้ปีสุดท้าย หรือนับ 5 ปีย้อนหลังก็จะดี
  • ขั้นที่ 3 หาค่าคะแนนตนเองจากการสอบ Entrance ที่ประกาศผลมาแล้ว หรือจะทดลองทำข้อสอบเก่า

โดยการพิจารณา ดังนี้

  1. เอาคณะที่นักเรียนชอบมากที่สุดไว้เป็นอันดับ 1
  2. อันดับที่ 2 ควรเป็นคะแนนรองลงมา
  3. ไม่ควรเลือกคณะที่คะแนนใกล้กันมาก ควรให้ทิ้งห่างอย่างน้อย 5-10 คะแนน
  4. ทั้ง 4 อันดับต้องแน่ใจว่า นักเรียนเต็มใจเรียน เรียนได้ดี และสามารถจบตามเวลา ที่กำหนด
  5. ทั้ง 4 คณะนี้ คะแนนต้องถึงเกณฑ์ที่กำหนดแต่ละคณะ ถ้าคณะใดคะแนนของนักเรียน ไม่ถึงเกณฑ์ให้ตัดทิ้ง
  6. ถ้า ทั้ง 4 คณะ คะแนนไม่ถึงเกณฑ์ทั้งหมดให้ปรึกษาอาจารย์แนะแนว ซึ่งมีวิธีเลือกคณะ แบบใหม่ที่ทำให้ผู้ได้คะแนนน้อยมีโอกาสสอบได้ เพราะคนได้คะแนนน้อยไม่ได้หมายความว่ามี ความรู้น้อย อาจารย์แนะแนวมีวิธีการที่จะตรวจสอบความสามารถและชี้แนะแนวทางการนำเอา ความรู้ที่แท้จริงมรใช้เลือกคณะแทนการใช้คะแนนเป็นตัวตัดสิน

5. ข้อควรระวัง

  • ไม่ควรสอบข้ามสาย เช่น เรียนสายวิทย์ แต่ไปสอบสายศิลป์ หรือเรียนสายศิลป์ แต่ไป สอบสายวิทย์ เป็นต้น
  • ไม่ควรเลือกคณะปนกันทั้งสายวิทย์และสายศิลป์ เพราะทำให้สอบวิชามากเกินไป
  • ไม่ควรเลือกคณะที่คะแนนนักเรียนไม่ถึงเกณฑ์ จะทำให้เสียเงินและเสียเวลาเปล่า ถ้าอยากเสี่ยงทดลองเลือกควรเสี่ยงเลือกเพียงคณะเดียว ไม่ควรเสี่ยงทั้ง 4 คณะ
  • ไม่ควรเลือกตาม เพื่อน พี่ พ่อ แม่ ญาติ หรือคนอื่น ควรเลือกตามข้อมูล ตามเหตุผล และเลือกที่ตรงกับความถนัด ความสามารถและความสนใจของนักเรียนอย่างแท้จริง
  • ไม่ควรยึดติดสถาบัน ควรดูคะแนนตัวนักเรียนเอง และเอาตัวนักเรียนเป็นตัวตั้ง ไม่ใช่ เอาสถาบันเป็นตัวตั้ง
  • ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นว่าต้องได้ แต่ไม่ควรประมาท และต้องวางแผนให้ดีรัดกุมทุกเรื่อง ถ้าพลาดต้องคิดว่าเราวางแผนบกพร่องที่ใด ครั้งต่อไปต้องมั่นใจกว่าเดิม
  • ไม่ควรมุ่งไปที่มหาวิทยาลัยปิดอย่างเดียว ควรเตรียมแผน 2 ไว้ที่มหาวิทยาลัยเปิด แผน 3 ไว้ที่สถาบันอุดมศึกษาอื่นบ้าง
  • ไม่ควรเลือกสาขาเดียว 4 อันดับ เช่น แพทย์ 4 อันดับ วิศวะ 4 อันดับ หรือสถาปัตย์ 4 อันดับ เป็นต้น เพราะเสี่ยงเกินไป
  • อย่าลืมปรึกษาอาจารย์แนะแนว เพราะท่านมีประสบการณ์ดีๆ หลายอย่างที่จะเสนอ แนะให้แนวทางที่ช่วยตัดสินใจได้

วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

~สอบ GAT-PAT ~

สอบแล้วจ้า...

พรุ่งนี้แล้วววว ว ลองทำข้อสอบเยอะ ๆ

ส่วนภาษาอังกฤษก็ ท่องศัพท์กันไปนะ ศัพท์ยากๆทั้งนั้น

สู้ ๆ เป็นกำลังใจให้ตัวเอง และเพื่อนๆผู้สอบGAT-PAT ทุกท่าน

จบการรายงานข่าว !