วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2552
1.ความถนัดทางการเรียนวิเคราะห์เกียวกับการอ่าน,ปัญหาเชาว์, วัด IQ,รูปภาพ มิติสัมพันธ์ เช่นมีรูปมาให้แล้ว มาเลือกรูปไหนตรงกับตัวอย่างครับ ,โจทย์คิดวิเคราะห์ เช่น มีตึก 5 ชั้น มีคน 5 คนคือ A B C D E โดย D E ไม่อยู่ชั้นติดกัน C อยู่ชั้นบนสุด คำถามที่1 ใครอยู่ชั้นที่ 4 คำถามที่2 E อยู่ชั้นไหน ( โจทย์ประมาณนี้นะครับเพราะพี่ๆจำโจทย์กันไม่ได้ ฮาฮา) มีการถอยลูกเต๋าด้วยนะ
2.ฟิสิกข์ เคมี ชีวะ ภาษาไทย สังคมจะเน้นเนื้อหาของม. 4-5 เป็นหลักนะครับเพราะม6 ยังแทบไม่ได้เรียนเท่าไหร่เลย แต่ก็มีเนื้อหาของ ม6 ออกบ้างเหมือนกันแต่ถ้าใครอ่านหนังสือไม่ทันจริงๆก็แนะนำเนื้อหา ม4-5 เป็นหลักครับ สำหรับชีวะก็พี่พี่เขาแนะนำหนังสือของ สสวท มีออกหลายข้อ สำหรับฟิสิกส์สูตรที่ใช้จะไม่ยากมากนะครับ เน้นประยุกต์ด้วย ( แต่ปีนี้ไม่รุ้นะ ฮาฮา ) และก็อ่านข้อสอบ Eng ย้อนหลังด้วย
3. คณิคศาสตร์จะออกเป็นคิดวิเคราะห์,ประยุกต์, เซต และอื่นๆ พี่ๆแนะนำว่าก็ควรจะเน้นเรื่องตอน ม4-5 เช่นเดิมและเน้น สถิติ ความน่าจะเป็นด้วย
4.อังกฤษError,Reading เยอะมากๆ ยากด้วย , Conversation , Vocab ก็แนะนำอ่านข้อสอบEntเก่าเช่นเดิม เนื่อเรื่องบางอันยกมาจากข้อสอบเก่าเต็มๆ แต่ถึงยังไงก็ต้องฝึกพื้นฐานเองด้วยนะครับ ไม่งั้นก็ไม่รอดอยู่ดี
5.พื้นฐานคอมพิวเตอร์ความรู้ทั่วไปของคอม ตรรกศาสตร์ วงจรLogic Flowchart การเขียนโปรเเกรมเบื้องต้น อ่านหนังสือคอมเยอะๆ ติดตามข่าสารด้วยจะดีมาก
6.ออกแบบสื่อปฎิสัมพันธ์และมัลติมีเดียออกแบบผลิตภันฑ์, Logo , การดูภาพ Perspective , โดยเฉพาะช่วยดูความถนัดถางสถาปัตยกรรม( อันนี้ไม่แน่ใจว่าพี่เขียนผิดอะป่าว นึกว่าศิลปะนะนี่) ออกแบบต้องคิดถึง Conceptให้มาก การดูภาพ เทคนิคที่ใช้ในการออกแบบ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษถือว่าจำเป็นมากในการเข้าเรียนสาขานี้
7.ทันตะพี่คนนี้เป็นคนสุดท้ายนึกว่าจะไม่ได้คุยกับเด็กทันตะซะแล้วแต่บังเอิญเขาเดินผ่านตอนขึ้นรถไฟฟ้าใต้ดิน เลยหน้าทนเดินเข้าไปคุยเลยฮาฮา แบบทดสอบทางจิตวิทยา อันนี้ก็เป็นแบบทดสอบจริงทำไปเถอะ มันมีเยอะมากเหอะๆ ไม่ต้องคิดอะไรถ้าเราเหมาะสมก็ติดเองทักษะวิชาชีพ สมัยพี่( ตอนนี้ปี 5 แล้วอาจจะนานไปนิดแต่ก็ดีกว่าไม่มีแนวเลย ) คือตัดกระดาษให้ตรง ดัดลวด ฝนชอร์คให้ได้ตามรูปแบบ หลักๆคือฝึกการใช้ประสาทสัมผัสของมือ เพราะเราต้องละเอียดมากๆ ( P.kla เอาไว้ค่อยเครียดหลักจากประกาศผลรอบแรก ฮาฮา )
วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2552
~อ่านหนังสือให้เวิร์ค มาจัดตารางเวลากัน !!~
อ่านหนังสือให้เวิร์ค มาจัดตารางเวลากัน !!
1. เลือกเวลาที่เหมาะสม
เวลาที่เหมาะสมหมายถึง เวลาที่เราอยากจะอ่านหนังสือ หรือว่างจากงานอื่น หรือเป็นเวลาที่อ่านแล้วได้เนื้อหามากที่สุด เข้าใจมากที่สุด ซึ่งเวลาของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน บางคนชอบอ่านตอนเช้า บางคนชอบอ่านตอนกลางคืนก่อนนอน บางคนชอบอ่านเวลากลางวัน แล้วแต่การจัดสรรเวลาของแต่ละคน ต้องเลือกดูเวลาที่เหมาะสมของตัวเอง และควรจัดเวลาอ่านหนังสือให้ได้อย่างน้อย 2 ชั่วโมง
2. วางลำดับวิชาและเนื้อหา
ขั้นตอนต่อมา คือ เลือกวิชาที่จะอ่าน มีหลักง่ายๆ คือ เอาวิชาที่ชอบก่อน เพื่อให้เราอ่านได้เยอะๆ และอ่านได้เร็ว ควรเลือกเรื่องที่ชอบอ่านก่อนเป็นอันดับแรก จะได้มีกำลังใจอ่านเนื้อหาอื่นต่อไป ไม่แนะนำวิชาที่ยาก และเนื้อหาที่ไม่ชอบ เพราะจะทำให้เสียเวลาเปล่า การอ่านหนังสือควรอ่านให้ได้ตามที่เราวางแผนเอาไว้ วิธีการก็คือ List รายการหรือเนื้อหา บทที่จะอ่านให้หมด จากนั้นค่อยเลือกลำดับเนื้อหาว่าจะอ่านเรื่องใดก่อนหลัง แล้วค่อยลงมืออ่าน
3. ลงมือทำ
ข้อนี้สำคัญมาก คือ ต้องลงมืออ่านอย่างจริงจัง อย่าผัดวันประกันพรุ่ง และต้องจริงจัง
4. ตรวจสอบผลงาน
ผลของการอ่าน ดูได้จากว่า ทำข้อสอบได้หรือไม่ ถ้าอ่านแล้วทำข้อสอบได้ ก็แสดงว่าอ่านรู้เรื่อง อ่านเข้าใจ ได้เนื้อหาจริงๆ แต่ถ้าอ่านแล้วทำข้อสอบไม่ได้ ก็ต้องกลับไปทบทวนใหม่ เมื่ออ่านแล้วก็ต้องจดบันทึกไว้ด้วย เพราะจะได้รู้ว่า อ่านไปถึงไหนแล้ว และได้เนื้อหาอะไรบ้าง การจดบันทึก ก็คือการทำโน้ตย่อนั่นเอง แล้วทำสรุปไว้เลยว่าอ่านอะไรไปแล้วบ้าง เก็บไว้ให้มากที่สุด จะได้เป็นผลงานของตัวเอง จะได้เก็บไว้อ่านเมื่อต้องการ หรืออ่านตอนใกล้สอบ
วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2552
~10 วิธีปฏิบัติ..ไม่พลาดในการสอบ !!!~
10 วิธีปฏิบัติ..ไม่พลาดในการสอบ !!!
กฎ 10 ข้ออันพึงประสงค์ในการสอบ
1.เวลาทำข้อสอบให้เขียนชื่อ-สกุล ชั้น ให้เรียบร้อย
2.ตรวจดูข้อสอบว่ามีครบทุกข้อหรือเปล่า (เช่น ข้อ1 ข้อ2 ข้อ4) ถ้าขาดหายไปให้รีบแจ้งอาจารย์ทันที
3.อ่านโจทย์อย่างน้อย 2 ครั้ง แล้วจึงตอบ (ตีโจทย์ให้เข้าใจก่อน)
4.ถ้าข้อไหนคิดไม่ออก ให้ข้ามไปทำข้อต่อไปทันที พอเสร็จจึงกลับมาทำข้อที่เหลือเพื่อไม่ให้เสียเวลา
5.ตรวจดูว่าเราใส่คำตอบตรงตามข้อหรือเปล่า ถ้าเป็นกระดาษคำตอบ ให้ตรวจว่าคำตอบตรงกับคำถามหรือเปล่า
10 วิธีปฏิบัติ..ไม่พลาดในการสอบ !!!
6.ถ้าใกล้หมดชั่วโมง ให้รีบตอบให้หมดทุกข้อ ห้ามเว้นไว้ เพราะบางทีอาจจะถูก แต่ถ้าเว้นไม่ก็ไม่มีโอกาสได้คะแนน
7.การอ่านทบทวนเป็นสิ่งสำคัญที่สุด หากทำข้อสอบแล้วไม่ทบทวน จะมีโอกาสถูกแค่ 80%
8.เวลาอ่านหนังสือ ไม่ควรอ่านหลายวิชาพร้อมๆกัน เพราะอาจงงเวลาสอบได้
9.ความเป็นระเบียบเวลาทำข้อสอบอัตนัย (บรรยาย)เราต้องเขียนให้เป็นระเบียบเพื่อจะได้อ่านง่าย และมีโอกาสถูกเพิ่มขึ้นถึง 5%
10.วิธีสุดท้ายนี้ได้มาจากอาจารย์ คือ เวลาทำข้อสอบต้องมั่นใจให้ได้ 50% ขึ้นไป เช่น ข้อสอบ 100 ข้อ ต้องมั่นใจว่าถูกกว่า 50 ข้อ แค่นี้ก็ไม่ตกแล้ว
นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ "ความมั่นใจ"