นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่สอบ Entrance ได้ส่วนใหญ่เกิดจากการเตรียมตัวดี คือ เตรียมความพร้อมในการสอบได้ดี การเตรียมตัว ที่ดีมิใช่การอ่านหนังสือมากเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่หมายถึงการรู้รอบ ได้แก่ การรู้ทุกเรื่องหรือ รู้เรื่องเกี่ยวกับการสอบ Entrance ให้มากที่สุดทุกแง่ทุกมุมแล้วศึกษาตนเองว่าเหมาะสมกับ แง่มุมใดแล้วเตรียมตัวในทิศทางนั้น บางคนเรียนได้คะแนนดี แต่สอบ Entrance ไม่ได้ บางคน เรียนได้คะแนนไม่ดี แต่สอบ Entrance ได้ เหตุผลก็คือเด็กเรียนดีมักประมาทตรงกันข้ามกับ เด็กเรียนไม่ดีแต่ขวนขวายที่จะหาเทคนิคและวิธีการในการหาความรู้ใหม่ๆ มาเพิ่มเติมให้ตนเอง อยู่เสมอ ในที่นี้จะนำเสนอเทคนิคการเลือกคณะและจัดอันดับซึ่งเป็นเรื่องสำคัญอย่างหนึ่งในการ เตรียมตัวสอบ Entrance ดังต่อไปนี้
1. การพิจารณาแนวทางชีวิตของตนเอง นัก เรียนต้องคิดไว้แล้วว่า นักเรียนจะต้องประกอบอาชีพใด และควรจะเรียนต่อในสาขา วิชาใด จึงจะตรงกับความถนัด ความสามารถและความสนใจของตนเอง และทดลองเลือกคณะที่ อยู่ในความสนใจของตนเอง
2.การพิจารณาข้อมูลที่จำเป็น เมื่อได้ทดสองเลือกคณะที่พอใจ10คณะแล้วนักเรียนจำเป็นที่จะต้องค้นหาข้อมูลที่ สำคัญของแต่ละคณะในเรื่องต่างๆ
3. เทคนิคการเลือกคณะและจัดอันดับที่มีประสิทธิภาพ การพิจารณาเลือกคณะต้องเลือกอย่างฉลาด คือ ต้องประหยัดเวลา ประหยัดแรงงาน ประหยัดสมอง และประหยัดเงิน (ลงทุนน้อยให้ได้ประโยชน์มากที่สุด) ซึ่งต้องพิจารณาในสิ่งต่างๆ ดังนี้
3.1 ทั้ง 4 คณะต้องสอบกลุ่มวิชาเดียวกัน ไม่ควรสอบหลายกลุ่มวิชา เพราะทำให้ เปลืองเวลา เปลืองเงิน เปลืองสมอง ได้ผลน้อย
3.2 ทั้ง 4 คณะต้องตรงกับคุณสมบัติของนักเรียน ไม่ควรเลือกเผื่อเอาไว้ เพราะหมายถึง การขาดความมั่นใจในตนเอง อันเป็นอุปสรรคสำคัญของการสอบ คือ คิดว่าสอบตกตั้งแต่ยังไม่ได้สอบแล้ว
3.3 ทั้ง 4 คณะนักเรียนต้องชอบจริง ไม่ควรเลือกตามเพื่อน คณะที่เพื่อนชอบ หมายถึง คณะที่เพื่อนอยากได้ คณะที่นักเรียนชอบ คือ คณะที่นักเรียนอยากได้ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน
3.4 ทั้ง 4 คณะที่นักเรียนเลือก คะแนนนักเรียนต้องถึงเกณฑ์ตามคุณสมบัติของแต่ละคณะที่เขาตั้งไว้ คือ นักเรียนต้องผ่านเกณฑ์ก่อน เมื่อผ่านเกณฑ์ก็มิได้หมายความว่า นักเรียน สอบได้ เพียงแต่ได้สิทธิ์สมัครเข้าคัดเลือกเท่านั้น ซึ่งจะต้องมีการพิจารณาตัดสินกันอีกครั้งจากคะแนนสูงสุดของผู้สมัคร
3.5 ทั้ง 4 คณะที่นักเรียนเลือกต้องมั่นใจว่าเรียนได้ จบได้ตามเวลาที่กำหนด ไม่ควรฝัน จะเลือกคณะที่มีคะแนนสูง เพราะความโก้เก๋ หรือเลือกเพราะไม่รู้ว่าจะเลือกคณะอะไรดี ซึ่งอาจสอบไม่ได้หรือสอบได้ แล้วสละสิทธิ์ไม่เรียน เป็นต้น
3.6 ที่สำคัญที่สุด คือ เลือกคณะที่นักเรียนมั่นใจว่าสอบได้ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ข้อมูลทางสถิติอ้างอิงว่านักเรียนจะสอบได้ ถ้าหากไม่มั่นใจไม่ควรเลือก
4. เลือกอย่างไรจึงจะสอบได้ นักเรียนที่ได้คะแนนดี แต่สอบไม่ได้เพราะเลือกไม่เป็นนั้นมีเป็นจำนวนมาก จึงขอให้ใส่ใจ กับวิธีการ ในข้อนี้ให้มากจากข้อมูลที่รวบรวมมาจากข้อ 1 ถึงข้อ 3 นั้นให้นำมาใช้ ดังต่อไปนี้
- ขั้นที่ 1 ทดลองเลือกคณะที่นักเรียนชอบมา 10 คณะ ซึ่งอาจจะเปลี่ยนแปลง หรือปรับ มาจากข้อที่ 1
- ขั้นที่ 2 ใส่คะแนนสูงต่ำ โดยหาค่าเฉลี่ยของคะแนนสูงต่ำของคณะที่นักเรียนเลือกทั้ง 10 คณะ คะแนนสูงต่ำที่ใช้ควรใช้ปีสุดท้าย หรือนับ 5 ปีย้อนหลังก็จะดี
- ขั้นที่ 3 หาค่าคะแนนตนเองจากการสอบ Entrance ที่ประกาศผลมาแล้ว หรือจะทดลองทำข้อสอบเก่า
โดยการพิจารณา ดังนี้
- เอาคณะที่นักเรียนชอบมากที่สุดไว้เป็นอันดับ 1
- อันดับที่ 2 ควรเป็นคะแนนรองลงมา
- ไม่ควรเลือกคณะที่คะแนนใกล้กันมาก ควรให้ทิ้งห่างอย่างน้อย 5-10 คะแนน
- ทั้ง 4 อันดับต้องแน่ใจว่า นักเรียนเต็มใจเรียน เรียนได้ดี และสามารถจบตามเวลา ที่กำหนด
- ทั้ง 4 คณะนี้ คะแนนต้องถึงเกณฑ์ที่กำหนดแต่ละคณะ ถ้าคณะใดคะแนนของนักเรียน ไม่ถึงเกณฑ์ให้ตัดทิ้ง
- ถ้า ทั้ง 4 คณะ คะแนนไม่ถึงเกณฑ์ทั้งหมดให้ปรึกษาอาจารย์แนะแนว ซึ่งมีวิธีเลือกคณะ แบบใหม่ที่ทำให้ผู้ได้คะแนนน้อยมีโอกาสสอบได้ เพราะคนได้คะแนนน้อยไม่ได้หมายความว่ามี ความรู้น้อย อาจารย์แนะแนวมีวิธีการที่จะตรวจสอบความสามารถและชี้แนะแนวทางการนำเอา ความรู้ที่แท้จริงมรใช้เลือกคณะแทนการใช้คะแนนเป็นตัวตัดสิน
5. ข้อควรระวัง
- ไม่ควรสอบข้ามสาย เช่น เรียนสายวิทย์ แต่ไปสอบสายศิลป์ หรือเรียนสายศิลป์ แต่ไป สอบสายวิทย์ เป็นต้น
- ไม่ควรเลือกคณะปนกันทั้งสายวิทย์และสายศิลป์ เพราะทำให้สอบวิชามากเกินไป
- ไม่ควรเลือกคณะที่คะแนนนักเรียนไม่ถึงเกณฑ์ จะทำให้เสียเงินและเสียเวลาเปล่า ถ้าอยากเสี่ยงทดลองเลือกควรเสี่ยงเลือกเพียงคณะเดียว ไม่ควรเสี่ยงทั้ง 4 คณะ
- ไม่ควรเลือกตาม เพื่อน พี่ พ่อ แม่ ญาติ หรือคนอื่น ควรเลือกตามข้อมูล ตามเหตุผล และเลือกที่ตรงกับความถนัด ความสามารถและความสนใจของนักเรียนอย่างแท้จริง
- ไม่ควรยึดติดสถาบัน ควรดูคะแนนตัวนักเรียนเอง และเอาตัวนักเรียนเป็นตัวตั้ง ไม่ใช่ เอาสถาบันเป็นตัวตั้ง
- ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นว่าต้องได้ แต่ไม่ควรประมาท และต้องวางแผนให้ดีรัดกุมทุกเรื่อง ถ้าพลาดต้องคิดว่าเราวางแผนบกพร่องที่ใด ครั้งต่อไปต้องมั่นใจกว่าเดิม
- ไม่ควรมุ่งไปที่มหาวิทยาลัยปิดอย่างเดียว ควรเตรียมแผน 2 ไว้ที่มหาวิทยาลัยเปิด แผน 3 ไว้ที่สถาบันอุดมศึกษาอื่นบ้าง
- ไม่ควรเลือกสาขาเดียว 4 อันดับ เช่น แพทย์ 4 อันดับ วิศวะ 4 อันดับ หรือสถาปัตย์ 4 อันดับ เป็นต้น เพราะเสี่ยงเกินไป
- อย่าลืมปรึกษาอาจารย์แนะแนว เพราะท่านมีประสบการณ์ดีๆ หลายอย่างที่จะเสนอ แนะให้แนวทางที่ช่วยตัดสินใจได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น