วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

น้อมรำลึก...เสด็จสู่สวรรคาลัย









ขอพระราชทานกราบบังคมทูลใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท

ข้าพระพุทธเจ้า ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ใช้ถ้อยคำสามัญในการเขียนบทความชิ้นนี้ เพื่อป้องกันความผิดพลาด

ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ

แผนกข่าวกีฬา น.ส.พ.มติชน

พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง ลุล่วงไปแล้ว ด้วยความตื้นตันในจิตสำนึก ในการรับรู้ ของผู้เป็นคนไทยทั้งปวง


เป็นพระราชพิธีอันยิ่งใหญ่ อลังการ สมพระเกียรติ ตามแบบฉบับของโบราณราชประเพณี และการปรับแต่งให้สอดคล้องกับยุคสมัยในบางส่วนอันสำคัญ

ภาพ เสียง และบรรยากาศต่างๆ นั้น ทำให้คนไทยทุกคน ได้รับรู้ด้วยความรู้สึกอันลึกซึ้ง ตื้นตันมากมายนัก

มากมายนัก สำหรับคนไทย ซึ่งเป็นคนร่วมสมัยในห้วงเวลาอันสามารถรับรู้ พบเห็น สัมผัสได้ด้วยตัวเองโดยตรง กับพระราชกรณียกิจ กับพระกรณียกิจ กับการทรงงาน แห่งพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์

โดยเฉพาะ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ หรือ "ในหลวง" กับ "พระพี่นาง" ในการเรียกขานของชาวบ้านทั่วไป

นี่คือ ห้วงเวลาอันยิ่งใหญ่ในความรู้สึก ในการรับรู้ยิ่งนัก!!

@@@@@@@@@@

ภาพของ "ในหลวง" วางดอกไม้จันทน์พร้อมเปลวไฟให้ "พระพี่นาง" แล้วยืนนิ่ง นาน หลายอึดใจ ในยามบ่ายนั้น

ต่อด้วยภาพของ "ในหลวง" ในการเผาจริง "พระพี่นาง" อีกหลายชั่วโมงต่อมา ในยามดึกนั้น

คือภาพอันบ่งบอกถึงความผูกพันอันยิ่งใหญ่ ลึกซึ้ง ของพี่สาวกับน้องชายร่วมสายเลือดเดียวกัน ที่เหลืออยู่เพียงสองคน จนกระทั่งพี่สาวจากไป เหลือเพียงน้องชายตามลำพัง

ภาพเพียงภาพเดียว มีคุณค่ามากกว่าคำบรรยายหลายล้านคำยิ่งนัก!!

....."พี่สาวนี่ เคยบอกว่า ถึงเวลาอายุ 80 ปี ไม่ไหว ท่านอายุ 84 ก็เหนื่อย ท่านไม่ค่อยสบาย ก็เลยขอพูดถึงท่าน ขอให้ท่านสบาย และมีความสำเร็จในการรักษาตัว"

....."เดี๋ยวนี้ คนที่เป็นผู้ใหญ่ของข้าพเจ้า เหลือคนเดียว คือ พี่สาว"

นั่นคือ รับสั่งของ "ในหลวง" เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2550 ที่ผ่านมา

หลังจากนั้น "พระพี่นาง" สิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ.2551

และพิธีส่งเสด็จฯ "พระพี่นาง" สู่สรวงสวรรค์ มีขึ้นแล้วสิ้นสุดลง เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2551

....."ในหลวง" เคียงข้างผู้ใหญ่คนสุดท้าย เคียงข้างพี่สาว เคียงข้าง "พระพี่นาง" จนถึงวาระแห่งเถ้าถ่านสุดท้าย เมื่อเวลาล่วงเข้าวันใหม่

นับจากบัดนี้ไป "ในหลวง" ไม่มีผู้ใหญ่คนสุดท้ายอีกต่อไปแล้ว

@@@@@@@@@@

คนไทย สังคมไทย โดยเฉพาะวงการกีฬาไทยนั้น ภูมิใจยิ่งนักที่มี "ในหลวง" เป็น "กษัตริย์นักกีฬา" ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันไปทั้งโลก

คนไทย สังคมไทย โดยเฉพาะวงการการศึกษาไทยนั้น ภูมิใจยิ่งนักที่มี "พระพี่นาง" เป็น "พระกัลยาณมิตราจารย์" หรือพระอาจารย์ผู้เป็นมิตรอันประเสริฐ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันในระดับนานาชาติเช่นกัน

นอกจากเป็นนักกีฬาเองแล้ว นอกจากเป็นเสาหลักของกีฬาเปตองในเมืองไทยแล้ว

"พระพี่นาง" ยังเป็นองค์อุปถัมภ์กิจกรรม และกิจการของคนพิการไทย ที่ส่งผลดีถึงกีฬาคนพิการในเมืองไทยอีกเช่นกัน

"พระพี่นาง" ยังทำให้คนไทยหูตาสว่าง กว้างไกลในการรู้จริงอันถ่องแท้มากขึ้น ว่า "โอลิมปิค" นั้น มิได้มีความหมายเพียงแต่มหกรรมกีฬา หรือกิจกรรมกีฬาเท่านั้น

หากแต่ "โอลิมปิค" อันเป็นภูมิปัญญาของกรีกโบราณนั้น แท้จริงแล้ว คือการเน้นองค์รวมของภูมิปัญญาด้านวิชาการ ศิลปวัฒนธรรม ดนตรี และกีฬา อย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

"พระพี่นาง" คือผู้บุกเบิก "โอลิมปิควิชาการ" ของเมืองไทยเมื่อ 20 ปีก่อน จนเป็นรากแก้วแห่งการพัฒนาวิชาการของเยาวชนไทย ของคนไทยรุ่นใหม่มาจนถึงทุกวันนี้

"พระพี่นาง" ยังบุกเบิกและสนับสนุนกิจกรรมด้านดนตรี ศิลปะ วัฒนธรรมต่างๆ จนครบองค์รวมของภูมิปัญญาแห่ง "โอลิมปิค" เพื่อเป็นพื้นฐานของการสร้างคนไทยรุ่นใหม่ ให้มีคุณภาพครบถ้วนมากยิ่งขึ้น

"ในหลวง" และ "พระพี่นาง" จึงเป็นสัญลักษณ์แห่งภูมิปัญญาของการสร้างคนไทยรุ่นใหม่ ให้มีองค์ประกอบของความเป็นคน ครบถ้วนยิ่งขึ้น

@@@@@@@@@@

ภาพของ "ในหลวง" กับ "พระพี่นาง" ครั้งสุดท้ายนั้น

จึงมีคุณค่า มีความหมายยิ่งใหญ่ ลึกซึ้งสำหรับคนไทย และคนทั่วไป ยิ่งนัก

ลึกซึ้ง ดื่มด่ำไปถึงก้นบึ้งแห่งความเป็นสายเลือดเดียวกัน แห่งความเป็นคนเหมือนกันยิ่งนัก

ณ บรรทัดนี้ จึงขอน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของ "ในหลวง" ขอน้อมรำลึกในพระกรุณาธิคุณของ "พระพี่นาง" ที่มีต่อพสกนิกรชาวไทย

อย่างยิ่งใหญ่ เอนกอนันต์.....เสมอมา

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ


วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

Obama élu président

Le démocrate Barack Obama a remporté une victoire historique et écrasante sur son adversaire républicain, John McCain, devenant à seulement 47 ans le premier Noir élu président des Etats-Unis.
Depuis Chicago, Barack Obama a salué son adversaire qui "a enduré des sacrifices pour l'Amérique que la plupart d'entre nous ne peuvent même pas commencer à imaginer".
John McCain a reconnu sa défaite, indiquant à ses partisans, rassemblés à Phoenix, dans l'Arizona, qu'il avait félicité Barack Obama ; des sifflets ont accueilli ces paroles.
"Le peuple américain a parlé, et il a parlé clairement", a ajouté le sénateur âgé de 72 ans qui a failli devenir le président le plus âgé à faire son entrée à la Maison Blanche.
Mais son expérience, dont il a joué face à son rival Barack Obama, de 25 ans son cadet, n'a pas suffi à convaincre.
"C'est une élection historique", a-t-il poursuivi, "je reconnais la signification particulière qu'elle a pour les Noirs américains, la fierté qui doit être la leur ce soir".

วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

Obama met en place son équipe

Barack Obama et son épouse Michelle, Joe Biden et son épouse Jill
Après sa victoire historique, Barack Obama n’est plus vraiment le sénateur de l’Illinois, mais le président élu des Etats-Unis qui doit prendre ses fonctions le 20 janvier.
Emblématique de ce changement de statut: Barack Obama va commencer aujourd’hui à avoir accès aux mêmes rapports de la CIA que George Bush reçoit tous les jours. George Bush, qui a félicité hier son successeur et lui a promis “une collaboration complète” en vue du passage de relais.
La CIA indique que, pour la première fois, le président élu va recevoir aujourd’hui le même rapport secret que le président sortant. Ce type de rapport a trait aux questions de sécurité des Etats-Unis, y compris les opérations clandestines menées par la centrale américaine de renseignements à travers le monde.
Barack Obama a remporté le scrutin présidentiel avec 52% des suffrages exprimes, contre 46% à John McCain. Barack Obama est non seulement le premier président noir des Etats-Unis, mais aussi le premier candidat démocrate à obtenir plus de 50% des voix depuis la victoire de Jimmy Carter en 1976.
Apres avoir félicité son successeur par téléphone, George Bush est apparu hier dans la roseraie de la Maison Blanche afin de le saluer au nom du pays.
Dans une brève allocution, le locataire actuel de la Maison Blanche a estimé que l’avènement du premier président noir des Etats-Unis est “le triomphe de l’Amérique”.
Tout en saluant elle-aussi le caractère historique de l’élection de Barack Obama, la presse amércaine souligne qu’étant donné les nombreux défis importants que le président élu devra relever, de la crise économique à la guerre en Irak, Barack Obama serait bien avisé d’agir vite pour former son gouvernement et annoncer quelles seront ses premières mesures.
Le Los Angeles Times conseille ainsi a Barack Obama d’indiquer qu’il fermera la prison de Gunatanamo dés son arrivée a la Maison Blanche le 20 janvier. “Ce serait un démarrage symbolique”, écrit le quotidien californien qui souhaite aussi une reforme de l’immigration en faveur de la régularisation des sans-papiers.
De son côté, le Kansas City Star considère que les premières priorités de Barack Obama devraient être d’assurer “la stabilisation du système financier”, de réduire les dépenses de l’Etat, d’améliorer la couverture médicale aux Etats-Unis et de “diminuer rapidement l’engagement américain en Irak”.
Barack Obama a annoncé la formation de son équipe de transition. Elle est composée de Valerie Jarrett, une amie de Barack Obama, de Peter Rouse, le chef de cabinet de M. Obama au Sénat,
et de John Podesta, l’ancien chef de cabinet de l’ancien président Bill Clinton.
Le rôle de ce trio est de faire la liaison avec l’Administration Bush et de soumettre à M. Obama les noms de candidats aux différents postes ministériels.